Page 20 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 20

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021


                        3. ให้ผู้สรุปข้อมูลในขั้นนี้จัดทําบัญชีรายชื่อผู้ให้ข้อมูลพร้อมรหัสตัวเลขประจําตัวผู้ให้ข้อมูล ในที่นี้ให้ใช้
                     ตัวอักษรภาษาอังกฤษกับตัวเลขในวงเล็บ เป็นการแสดงรหัสประจําตัวผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งภาษาอังกฤษ
                     จะเรียกว่า Key Informant เช่น (KI-1) หมายความว่าผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1 ของกลุ่ม (KI-2) หมายความว่า
                     ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2 ของกลุ่ม
                        4. การจัดทําบัญชีรายชื่อรหัสประจําตัวผู้ให้สัมภาษณ์ จําเป็นต้องกําหนดรหัสเป็นตัวเลขประจําตัวผู้ให้
                     สัมภาษณ์เนื่องจากนักวิจัยจะต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรมนักวิจัยว่าด้วยการคุ้มครองผู้ให้สัมภาษณ์หรือผู้
                     ข้อมูลอย่างเคร่งครัด โดยจะไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้ให้ข้อมูลไม่ว่าจะด้วยประการใดๆ อันเป็นไปตามพันธกรณี

                     ที่ให้ไว้กับผู้ให้ข้อมูลในการตกลงยินยอมเป็นผู้ให้สัมภาษณ์หรือผู้ให้ข้อมูลด้วย ดังนั้นนักวิจัยจะต้องจัดทํา
                     บัญชีผู้ให้ข้อมูลพร้อมรหัสตัวเลขประจําตัวผู้ให้ข้อมูลเก็บไว้เพื่อประโยชน์ในการจัดการข้อมูลและการ
                     ตรวจสอบความสอดคล้องเชื่อมโยงต่างๆ ของนักวิจัย ในบางกรณีอาจมีการใช้นามสมมุติ (Synonym) แทน
                     ตัวเลขได้
                          คําถาม          ประเด็นที่แตกต่าง                 บันทึกความเห็น
                      1               1.1 ไม่มี
                                      1.2 มีความเห็นต่างดังต่อไปนี้
                                      (1) ---------------------- (KI-3)

                                      (2) ---------------------- (KI-6)
                                      1.3 ไม่มี
                                      1.4 มีความเห็นต่างดังต่อไปนี้
                                      (1) --------------------- (KI-3)
                                      1.5 มีความเห็นต่างดังต่อไปนี้
                                      (1) --------------------- (KI-4)
                                      (2) ---------------------- (KI-7)

                    ภาพที่ 2: แบบฟอร์มกําหนดประเภทข้อมูลจากประเด็นสําคัญของข้อมูลที่เป็นข้อความจากข้อมูลรายกลุ่ม
                    ที่มา: ดัดแปลงจาก จําเนียร จวงตระกูล, 2564: 24.



                           จากภาพที่ 2. ซึ่งคัดมาเป็นตัวอย่างเพียงส่วนหนึ่ง ผลที่ได้จากการวิเคราะห์คือประเภทข้อมูลที่ได้จาก
                    การจัดกลุ่มประเด็นสําคัญของข้อมูล โดยนํามาจัดทําเป็นประเภทข้อมูลหรือหัวข้อรอง (Category) ในกรณีที่

                    เป็นการศึกษาโดยเก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยเพียงกลุ่มเดียว เข่น นักศึกษา หรืออาจารย์ หรือ

                    ผู้บริหารมหาวิทยาลัย เป็นต้น ผลการวิเคราะห์ขั้นที่สอง คือประเภทข้อมูลหรือหัวข้อรอง สามารถนําไปจัดขั้น
                    ข้อมูลเป็นขั้นที่สาม คือเป็นหัวข้อหลัก (Theme) ซึ่งถือว่าเป็นผลของการวิจัยได้


                           ในกรณีที่มีการศึกษาหรือเก็บข้อมูลจากบุคคลหลายกลุ่มเช่นนักศึกษา อาจารย์ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย
                    นักวิจัยจะนําผลการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นที่สอง ไปจัดทําการวิเคราะห์ข้อมูลในชั้นที่สามต่อไป คือนําเอา
                    ประเภทของข้อมูลหรือหัวข้อรอง (Category) จากแต่ละกลุ่มมาพิจารณาร่วมกันเพื่อหาประเภทข้อมูลที่

                    สามารถจัดรวมเข้าไว้ในหมวดหมู่เดียวกันได้ จากนั้นนํามารวมให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกันโดยตั้งชื่อขึ้นใหม่เป็น
                    หัวข้อหลัก (Theme) ซึ่งถือว่าเป็นผลการวิจัยเพื่อใช้ดําเนินการต่อไป ซึ่งการวิเคราะห์ขั้นที่สาม นักวิจัย

                                                        13                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25