Page 24 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 24
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูลที่เป็นข้อความ ดังนั้น
ข้อมูลประเภทอื่นที่ไม่อยู่ในรูปแบบของข้อความจะต้องทําให้เป็นข้อความก่อน จึงจะสามารถดําเนินการ
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพได้ (Gale et al., 2013): 2) การวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย
เชิงคุณภาพตามที่ศึกษาในบทความนี้ แบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ การวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม การวิเคราะห์
เนื้อหาแบบกําหนดทิศทางล่วงหน้า และการวิเคราะห์เนื้อหาแบบสรุปความ ซึ่งมีกระบวนการและขั้นตอนที่
แตกต่างกันออกไป การวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมเป็นวิธีการวิเคราะห์ที่ใช้กับการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้
ยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพแบบการศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎี นอกจากนี้ยังเป็นวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาขั้น
พื้นฐานที่ใช้กับการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทั่วไป ที่มิได้ใช้ยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพแบบใดแบบหนึ่ง
โดยเฉพาะอีกด้วย การวิเคราะห์เนื้อหาแบบนี้จึงมีที่ใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยเชิง
คุณภาพในประเทศไทยที่มักจะทําการวิจัยโดยมิได้ใช้ยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพแบบใดแบบหนึ่ง
โดยเฉพาะ การวิจัยเชิงคุณภาพในประเทศไทยจึงมักจะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบทั่วไปหรือเป็นส่วนหนึ่ง
ของการวิจัยแบบผสมที่ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีการนี้ อย่างไรก็ตามกระบวนการและขั้นตอนของการ
วิเคราะห์เนื้อหาแบบนี้จะมีความซับซ้อนและยากแก่การทําความเข้าใจในขั้นต้น ซึ่งอาจมีการทําการย่อและ
การลงรหัส จึงมักทําให้เกิดความสับสนแก่นักวิจัยใหม่และต้องใช้เวลามากในการกําหนดรหัส คณะผู้เขียนจึงได้
นําวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมมาทําการปรับปรุงให้เข้ากับบริบทของไทย โดยลดขั้นตอนด้วยการตัดการ
ย่อออกไปและปรับเปลี่ยนการลงรหัสมาเป็นการกําหนดประเด็นสําคัญของเนื้อหาที่เป็นข้อความแทนการลง
รหัส ส่วนขั้นตอนที่เหลือยังคงเดิม ผู้เขียนจึงเห็นสมควรนําเสนอเพื่อเผยแพร่เพื่อเป็นทางเลือกแก่นักวิจัยเชิง
คุณภาพที่ต้องใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมในโครงการวิจัยเชิงคุณภาพต่อไป โดยสามารถใช้เป็นทางเลือก
ใหม่สําหรับนักวิจัยเชิงคุณภาพมือใหม่หรือนักวิจัยที่ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์มาทําการวิจัยเชิงคุณภาพที่ต้อง
ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม ซึ่งจะช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
สามารถกระทําได้รวดเร็วขึ้น
17 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย