Page 22 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 22
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
KI) เช่น (SG-1-KI-1) แล้วนําไปไว้ในกลุ่มที่
หมายความว่า เป็นข้อมูลของ คล้ายคลึง
กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มที่
1 และผู้ให้ข้อมูลคนที่ 1 เป็น
ต้น
2 ดําเนินการตามที่ได้แสดงไวใน ดําเนินการตามที่ได้แสดงไว
ข้อ 1 จนครบทุกข้อ ในข้อ 1 จนครบทุกข้อ
ภาพที่ 3: แบบฟอร์มที่สามเพื่อกําหนดหัวข้อหลักจากประเภทข้อมูล
ที่มา: ดัดแปลงเพิ่มเติมจาก จําเนียร จวงตระกูล, 2564: 23-24.
จากภาพที่ 3 ซึ่งคัดมาเป็นตัวอย่างเพียงส่วนหนึ่ง จะเห็นว่าผลของการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยจะได้ข้อมูล
ขั้นที่สามคือหัวข้อหลัก (Theme) ที่ถือว่าเป็นปัจจัยหรือองค์ประกอบ (Factor) ที่จะใช้ไปสร้างทฤษฎีหรือ
แบบจําลองหรือนําไปอธิบายและอภิปรายผลการวิจัยต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปช่วยในการ
วิเคราะห์ได้ แต่โปรแกรมจะไม่สามารถทําแทนนักวิจัยได้เหมือนกับโปรแกรมที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ แต่
สามารถช่วยให้การวิเคราะห์มีความรวดเร็วและช่วยจัดระเบียบข้อมูลได้ (จําเนียร จวงตระกูล, 2562: 150)
โปรแกรมสําเร็จรูปที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพมีจํานวนมาก โดยระหว่างปี 2017-2018 มีโปรแกรม
ที่มีผู้นิยมสูงสุดถึง 16 โปรแกรม (จําเนียร จวงตระกูล, 2562: 154) หนึ่งในจํานวนนั้นคือโปรแกรม ATLAS.ti
(นพพงศ์ เกิดเงิน, 2563. ใน จําเนียร จวงตระกูล, 2563: 257-292) เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย เป็นมิตรกับผู้ใช้
และมีผู้นิยมใช้มาก โปรแกรมจะช่วยในการเสนอผลการวิจัยเป็นภาพต่างๆได้ตามที่นักวิจัยต้องการ (จําเนียร
จวงตระกูล, และคณะ, 2020: 6-7; วรรณวิชนี ถนอมชาติ และคณะ, 2363: 8-10) อย่างไรก็ตามในกรณีที่ทํา
การวิเคราะห์ด้วยมือ (Manual) ที่ได้นําเสนอตามแนวทางเลือกใหม่นี้ นักวิจัยสามารถนําผลของการวิเคราะห์
เนื้อหาตามวิธีการที่ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้ แสดงผลการวิเคราะห์เป็นภาพได้โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป Mind
Manager (2021, Online) ดังตัวอย่างในภาพที่ 4
15 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย