Page 55 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 55
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
ระบบเศรษฐกิจกระบวนทัศน์ใหม่เพื่อการฟื้นฟูประเทศสู่ยุคหลังโควิด-19:
ประเทศไทยและโลกวิกฤตเพราะระบบเศรษฐกิจที่ผิด
2
ประเวศ วะสี
1. ระบบเศรษฐกิจที่ผิดเกิดจากฐานความคิดที่ผิด
ระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน แม้จะคิดและพัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์ที่เก่งระดับโลก และหลายคน
ได้รับรางวัลโนเบล อันทําให้คนเชื่อกันไปทั้งโลก แต่ผลของมันโดยเฉพาะใน ๓๐ ปี ที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นว่ามี
ปัญหาที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ําสุดๆ แบบที่เรียกกันว่าปรากฏการณ์ 99 : 1 คือ คน 1 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นที่
ได้รับประโยชน์ แต่อีก 99 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ ความเหลื่อมล้ําหรือความไม่เป็น
ธรรมขณะนี้มีผลตามมาอย่างมหาศาล เป็นวิกฤตการณ์ปัจจุบันหรือวิกฤตการณ์โลก ที่ไม่สามารถก้าวข้ามได้
ด้วยระบบเศรษฐกิจแบบเดิม ตามคําพูดที่ว่า "คุณไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการที่ก่อให้เกิดปัญหานั้น"
ฐานการคิดที่ผิดคือ การคิดแบบกลไกและแยกส่วน ไม่ใช่การคิดแบบองค์รวม
องค์รวมคือโลกทั้งโลกเป็นองค์รวมเดียวกัน
เมื่อเป็นองค์รวมเดียวกัน แล้วคิดว่าระบบเศรษฐกิจคือการแข่งขันเสรีจะได้หรือ
เหมือนร่างกายทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียวกัน จะปล่อยให้ส่วนใดส่วนหนึ่งขาดเลือดไปเลี้ยงไม่ได้ เพราะจะ
กระทบองค์รวมทั้งหมด
เพราะฉะนั้นระบบเศรษฐกิจ จึงเป็นเสมือนระบบสูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงร่างกายอย่างทั่วถึงเป็นธรรม
(ถูกต้อง)
ไม่ใช่ทุนนิยมเสรีอย่างที่คิดแบบกลไก และแยกส่วน
การคิดและทําแบบแยกส่วนจะนําไปสู่สภาวะวิกฤตเสมอ
2. เมื่อมีการเห็นอย่างถูกต้องว่าระบบเศรษฐกิจคืออะไร ก็สามารถออกแบบ (design)ได้
ทิฐิ แปลว่า การเห็น การเห็นอย่างถูกต้องเรียกว่า สัมมาทิฐิ ถ้าตรงข้ามก็เป็นมิจฉาทิฐิ สัมมาทิฐิ
กําหนดสามารถพัฒนา มิจฉาทิฐิกําหนดมิจฉาพัฒนา เมื่อเราเห็นว่าประเทศทั้งหมดเป็นองค์รวมหนึ่งเดียวกัน
และระบบเศรษฐกิจเป็นเสมือนระบบสูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงทุกส่วนของร่างกายอย่างทั่วถึงทันกาล จะให้ส่วน
ใดส่วนหนึ่งขาดเลือดไม่ได้ เราก็สามารถออกแบบระบบเศรษฐกิจกระบวนทัศน์ใหม่ได้ เป็นระบบเศรษฐกิจ
สัมมาพัฒนา ที่ก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข
2 ประเวศ วะสี, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
46 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย