Page 51 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 51
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
งานวิจัยที่เป็นคนละหน่วยงานแต่อยู่ในสายการปฏิบัติงานลักษณะเดียวกันซึ่งมีผลสรุปที่สอดคล้องกันกับ
งานวิจัยของ ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล (2554) ศึกษาเรื่องคุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลทั่วไปของรัฐบาล
ในเขตจังหวัดปทุมธานี พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วยอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ มีผลต่อคุณภาพ
การให้บริการในภาพรวมแตกต่างกัน และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ไสว ชัยบุญเรือง (2555) ศึกษาเรื่อง
คุณภาพการให้บริการของผู้ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อําเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด พบว่า ผู้ที่มี
การศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการแตกต่างกัน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณารายละเอียด
ปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขพื้นฐาน พบว่า หากผู้ที่เคยได้รับการอบรมความรอบรู้
เกี่ยวกับสาธารณสุขพื้นฐาน จะมีผลต่อความคิดเห็นคุณภาพการให้บริการของ อสม. มากกว่าผู้ที่ไม่เคยได้รับ
การอบรม ทั้ง 5 ด้าน อันได้แก่ ด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพที่สัมผัสได้ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้าน
การตอบสนอง ด้านการสร้างความมั่นใจ ด้านการดูแลเอาใจใส่ อาจเนื่องมาจากการที่ประชาชนผู้ที่เคยได้รับ
การอบรม จะมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุขมูลฐาน ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถ
ประเมินผลการปฏิบัติงานของ อสม.ตามแบบมาตรฐานในขั้นต้นได้ทันทีที่ได้รับการบริการ และยิ่งมีความรอบรู้
เกี่ยวกับสาธารณสุขพื้นฐานสูง จะส่งผลต่อความคิดเห็นด้านคุณภาพและความคาดหวังที่จะได้รับการบริการที่
มีคุณภาพตามมาตรฐานสูงเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุพัตรา ศรีชุม (2560) ศึกษาเรื่องบทบาท
หน้าที่ของ อสม.ประจําหมู่บ้านตามการรับรู้และคาดหวังของประชาชน ตําบลเสม็ด จังหวัดชลบุรี พบว่า
ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของ อสม.ตําบลเสม็ด จังหวัดชลบุรี ตามการรับรู้และ
คาดหวังแตกต่างกันโดยมีความคาดหวังสูงกว่าการรับรู้
ข้อเสนอแนะ
จากผลการศึกษาคุณภาพการให้บริการของ อสม. ในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบ ในพื้นที่
ตําบลโคกโพธิ์ อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี พบว่า คุณภาพการให้บริการทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้าน
รูปลักษณ์กายภาพที่สัมผัสได้ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้านการตอบสนอง ด้านการสร้างความมั่นใจ
ด้านการดูแลเอาใจใส่ อยู่ในระดับสูงทั้งหมด แต่มีรายละเอียดรายด้านที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ เครื่องมือ ทันสมัยอยู่
ในระดับปานกลาง และปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ ความรอบรู้เกี่ยวกับพื้นฐานสาธารณสุข ที่พบว่า ผู้ที่เคยเข้ารับ
การอบรมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานสาธารณสุข จะมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการมากกว่าผู้ที่ไม่เคย
ได้รับการอบรม ดังนั้น ผู้ศึกษาขอเสนอแนะดังต่อไปนี้
ข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของ อสม.
1. ด้านรูปลักษณ์กายภาพที่สัมผัสได้ มีคุณภาพในระดับสูง แต่เมื่อพิจารณารายละเอียด
พบว่า ด้านรูปลักษณ์กายภาพที่สัมผัสได้ ที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ เครื่องมือ ทันสมัย ระดับความคิดเห็นของคะแนน
อยู่ในระดับปานกลาง จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาปรับปรุงการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ที่
ทันสมัย ให้เพียงพอต่อการให้บริการประชาชน รวมทั้งการจัดฝึกอบรมเพิ่มทักษะความรู้ ความชํานาญ การ
บํารุงรักษา ในการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความรู้ความเชี่ยวชาญของ อสม.
ในการตอบสนองความต้องการของประชาชนทั้งด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพที่สัมผัสได้และด้านความน่าเชื่อถือ
42 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย