Page 52 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 52

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020

                    และไว้วางใจ

                                   2. ความรอบรู้เกี่ยวกับพื้นฐานสาธารณสุขของประชาชน ประชาชนที่เคยผ่านการอบรมความรู้
                    พื้นฐานมีระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการมากกว่าประชาชนที่ไม่เคยเข้ารับอบรม ในประเด็นนี้ ทาง

                    หน่วยงานสาธารณสุข ควรมีการประชาสัมพันธ์และเปิดพื้นที่ให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเพื่อสร้างการมี
                    ส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดทําแผนการพัฒนาศักยภาพของ อสม. ไปพร้อมกับจัดทําแผนการฝึกอบรมให้

                    ความรู้เกี่ยวกับงานสาธารณสุขพื้นฐานให้กับประชาชน เพื่อให้แผนการพัฒนาสอดคล้องและต่อเนื่องเป็นไป
                    ตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่

                                   ข้อเสนอแนะในวิจัยครั้งต่อไป
                                    การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเฉพาะเชิงปริมาณ ควรมีการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพร่วมด้วย จะทําให้
                    งานวิจัยมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และควรศึกษาความต้องการของประชาชนต่องานบริการด้านสาธารณสุขมูล

                    ฐานจาก อสม. ศึกษาให้ครอบคลุมผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ อสม. เพื่อให้เห็น
                    สภาพการดําเนินงานจะทําให้สามารถวางแผนจัดการบริการที่ถูกต้องตามความเหมาะสม ตรงตามความ

                    ต้องการของประชาชน และเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงพัฒนาเช่น ศึกษาปัญหา อุปสรรคในการ
                    ทํางานกับประชาชน เพื่อนําผลการศึกษาไปปรับปรุงและกําหนดแนวทางการทํางานให้เกิดผลสําเร็จบรรลุตาม

                    เป้าหมายก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนต่อไป


                                                        เอกสารอ้างอิง
                    กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข. (2557). วิวัฒนาการการสาธารณสุข
                                 มูลฐานในประเทศไทย (พ.ศ.2521- พ.ศ.2557). ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563,

                                  จาก http://www.phc.moph.go.th/www_hss/data_center/ifm_mod/nm
                                  /Phc-thai.pdf.

                    ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11).
                                 กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

                    นพวรรณ จงสง่ากลาง, วรวรรณ สโมสรสุขและธนบรรณ อู่ทองมาก. (2558). การรับรู้คุณภาพ
                                 บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, หน่วยวิเคราะห์แผน

                                 งบประมาณและวิจัยสถาบัน, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.
                    ประคอง  กรรณสูต.(2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤฒิกรรมศาสตร์(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:
                                 สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

                    ประนอม คําเที่ยง. (2561). มุ่งพัฒนาSmart อสม.ยุค 4.0.ค้นจาก
                                 http://www.อสม.com>matter>download

                    ประภาส อนันตาและจรัญญู  ทองเอนก.(2556). ผลของการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัคร
                                สาธารณสุขประจําหมู่บ้านในการเยี่ยมบ้านตําบลขวาว อําเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด.

                                วารสารวิชาการสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 20(1), 1-8.

                                                        43                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57