Page 6 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 6
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
บทบรรณาธิการ
ในวาระที่ประชากรโลกและประชาชนชาวไทยยังต้องเผชิญกับสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โคโรน่า หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “โควิด-19” ที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้นด้วยการกลายพันธุ์ของเชื้อโรคจากการใช้
ชีวิตแบบปกติของมนุษย์ไปสู่หลากหลายสายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์อินเดีย สายพันธุ์เดลต้า
สายพันธุ์เดลต้าพลัส สายพันธุ์แอฟริกาใต้ และคงจะตามมาอีกหลายสายพันธุ์ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนและมีวินัยในการใช้ชีวิตประจําวันให้สอดคล้องและรักษาสมดุลกับธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม รัฐบาลและสังคมควรจะร่วมกันจัดการและป้องกันลดการขยายตัวของปัญหาได้อย่างไรบ้าง
วารสารออนไลน์ฉบับที่ 5 นี้ได้รับความกรุณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอีกครั้ง คุณหมอประเวศ วะสี
และคุณวิทวัส กู้ประเสริฐที่มาให้ข้อคิดดี ๆ จากผู้มีประสบการณ์และมีวิสัยทัศน์ก้าวไกลมองไปข้างหน้าว่าเรา
ควรปรับตัวอย่างไร และสังคมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้หรือไม่ อย่างไร หากสถานการณ์นี้คลี่คลายลง
นอกจากนี้ ในส่วนของบทความวิชาการและบทความวิจัยนั้น กองบรรณาธิการได้รับความอนุเคราะห์
สนับสนุนเนื้อหาจากจําเนียร จวงตระกูล และคณะที่ให้ความรู้ต่อเนื่องจากฉบับที่แล้วในการวิเคราะห์เนื้อหา
เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลงานของณัฐภัทร์ รักวงศ์วาน และญาณินทร์ รักวงศ์วาน
เกี่ยวกับบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็น
แหล่งมรดกโลกในกลุ่มจังหวัดภูมิภาคตะวันตก และผลงานที่ได้จากการจัดประชุมวิชาการด้าน
รัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 12 รอบที่ 1 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมาจํานวน 3 เรื่อง
ได้แก่ ผลงานของธนสาร ธรรมสอน เรื่อง “โครงการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.)
กรณีศึกษาพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” กันยรัตน์ ไมยรัตน์ เรื่อง “โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ
พิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับบทบาทและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย”
และมณีชัชวาล มณีศรี เรื่อง “ทางเลือกที่น่าสนใจต่อการแก้ไขปัญหาการกระจายอํานาจของท้องถิ่นไทยใน
ภาพรวม” เพื่อเป็นเวทีสําหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ในการผลิตผลงานที่สนใจและเพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน
ในระดับบัณฑิตศึกษา พร้อมปิดท้ายด้วยการแนะนําหนังสือที่คิดว่าหลายคนมองข้ามไปแล้ว แต่น่าจะเป็น
ประโยชน์ในการมองวิเคราะห์องค์การจากมุมมองที่ต่างออกไป
ในนามของสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทยขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิและเจ้าของ
ผลงานทุกท่านที่มอบความไว้วางใจให้กับสมาคมฯ หากมีข้อแนะนําและติดชมประการใด ทางกองบรรณาธิการ
ยินดีน้อมรับเพื่อนํามาปรับปรุงการทํางานจิตอาสานี้ให้ดียิ่งขึ้นและตอบโจทย์ความต้องการของผู้อ่านและสังคม
ด้วยรักและศรัทธา
อัมพร ธํารงลักษณ์
บรรณาธิการ
v สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย