Page 10 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 10
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
ที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณมาใช้กับการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพได้ การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย
เชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่ง Hsieh & Shannon (2005:1277) ได้แบ่งออกเป็นสามแบบคือ การ
วิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม (Conventional content analysis) ซึ่งถือว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของการ
วิเคราะห์ข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพแบบการศึกษา
เพื่อสร้างทฤษฎี (Grounded theory study) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทั่วไปที่มิได้ใช้ยุทธศาสตร์การวิจัย
ของการวิจัยเชิงคุณภาพแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมีวิธีการดําเนินการที่เป็นกระบวนการที่เฉพาะเจาะจง
โดยเฉพาะที่แตกต่างและตรงกันข้ามกับวิธีอื่น เนื่องจากการดําเนินการวิจัยเชิงคุณภาพในประเทศไทยส่วน
ใหญ่มักไม่ได้ กําหนดยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น การวิจัยแบบบรรยาย
(Narrative study) (Creswell, 2007: 55-57) หรือ แบบศึกษาปรากฏการณ์ (Phenomenological study)
(Creswell, 2007: 60-62) หรือ การศึกษาวัฒนธรรม (Ethnographic study) (Creswell, 2007: 70-72) หรือ
การศึกษาแบบกรณีศึกษา (Case study) (Creswell, 2007: 74-75) เป็นต้น ซึ่งในการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้
ยุทธศาสตร์การวิจัยแต่ละแบบนี้มีวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นแบบเฉพาะของแต่ละแบบแตกต่างกันออกไป
เป็นการเฉพาะ ในขณะเดียวกันในแต่ละยุทธศาสตร์การวิจัย จะมีวิธีการวิเคราะห์ที่เฉพาะเจาะจงเป็นของ
ตนเองอีกหลายวิธี ซึ่งนักวิจัยสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของโครงการวิจัยของตน
ดังนั้นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ไม่ได้ใช้ยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะดังที่
กล่าวมาแล้ว จึงใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมที่มีกระบวนการและขั้นตอนในการวิเคราะห์โดยเฉพาะ
เช่นกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนแก่นักวิจัยใหม่และนักวิจัยที่คุ้นเคยกับการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิง
ปริมาณ เพื่อเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสําหรับนักวิจัยใหม่หรือนักวิจัยที่เปลี่ยนกระบวนทัศน์ มาเริ่มต้นทําการ
วิจัยเชิงคุณภาพหรือการวิจัยแบบผสมได้ใช้งานต่อไป คณะผู้เขียนจึงได้ทําการปรับปรุงและดัดแปลงวิธีการ
วิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมที่ได้พัฒนาขึ้นใช้งานในโครงการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงาน
ของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (จําเนียร จวงตระกูล, 2564: 23-24) ที่ได้ประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของการวิเคราะห์
ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพในประเทศไทย ทั้งนี้ได้ดัดแปลงวิธีการและลดขั้นตอน รวมทั้งลดความ
สลับซับซ้อนของการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมให้มีความกระชับขึ้นเพื่อความสะดวกในการใช้งานโดยยังคง
ได้ผลการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใกล้เคียงกับการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมมากที่สุด
สาระสําคัญของบทความนี้ประกอบด้วย (1) บทนํา เพื่อเป็นการกล่าวนําถึงประเด็นที่จะทําการศึกษา
และความสําคัญของเรื่องที่จะศึกษา (2) ลักษณะสําคัญของข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งแตกต่างจาก
ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานที่จะนําไปสู่การทําความเข้าใจกับการวิเคราะห์
เนื้อหาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ (3) การวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการ
วิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อทําความเข้าใจกับการวิเคราะห์เนื้อหาประเภทต่างๆ ที่สําคัญเพื่อเป็นแนวทางในการ
พัฒนาทางเลือกใหม่ของการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพต่อไป (4)
ทางเลือกใหม่ในการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อนําเสนอทางเลือกใหม่
ที่ได้พัฒนา เพื่อใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพต่อไป (5) บทสรุป
และเสนอแนะ
3 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย