Page 11 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 11

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                                         ลักษณะสําคัญของข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ


                           ข้อมูลเป็นส่วนประกอบที่สําคัญยิ่งของการวิจัย (Joungtrakul, Sheehan, & Aticomsuwan, 2013:
                    140) ในขณะเดียวกันข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยจะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะและประเภทของการวิจัย
                    โดยเฉพาะในการวิจัยเชิงคุณภาพ จะมีข้อมูลที่หลากหลายและแตกต่างจากข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ

                    นําไปสู่วิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่แตกต่างกันไป โดย Gale, Heath, Cameron, Rashid, &
                    Redwood (2013: 2) อธิบายว่า ข้อมูลเชิงคุณภาพจะต้องอยู่ในรูปแบบของข้อความ (Textual Form) ก่อน
                    การวิเคราะห์ ข้อความเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น เอกสารการวิจัย บันทึกรายงานการประชุม เอกสาร
                    เชิงนโยบาย เอกสารที่ถอดเทปจากการสัมภาษณ์ หรือการสนทนากลุ่ม หรือบันทึกภาคสนาม ในกรณีที่เก็บ
                    รวบรวมข้อมูลจากการสังเกตวัตถุหรือสิ่งของหรือสถานการณ์ทางสังคม เป็นต้น ทั้งนี้ วรรณวิชนี ถนอมชาติ
                    และคณะ (2563: 3-4) ได้นําเสนอลักษณะสําคัญของข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพเปรียบเทียบกับลักษณะ
                    สําคัญของข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณไว้ โดยได้คัดมานําเสนอใน 5 มิติ กล่าวคือ ลักษณะของข้อมูล

                    แหล่งที่มาของข้อมูล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และโปรแกรมสําเร็จรูปที่ใช้ในการ
                    วิเคราะห์ข้อมูล ดังแสดงในตารางที่ 1

                    ตารางที่ 1: เปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ ใน 5 มิติสําคัญ

                          ประเด็นเปรียบเทียบ          การวิจัยเชิงคุณภาพ           การวิจัยเชิงปริมาณ
                     1 ลักษณะของข้อมูลการวิจัย   มีความเป็นนามธรรม มีลักษณะ  มีความเป็นรูปธรรม เป็นจํานวน
                                                 เป็นข้อเท็จจริงจากผู้ให้ข้อมูล   เป็นตัวเลข สามารถนับ ชั่ง ตวง

                                                 เป็นการตีความหรืออธิบาย     วัด ออกมาได้ เป็นความเห็นที่มีต่อ
                                                 ความหมาย เป็นข้อความ เป็น   คําถามของนักวิจัยที่นักวิจัย
                                                 ตัวหนังสือ เอกสาร หลักฐาน   กําหนดไว้ล่วงหน้าด้วยตัวนักวิจัย
                                                 ต่างๆ                       เอง
                     2 แหล่งที่มาของข้อมูลการวิจัย   มาจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้จาก  สถานที่ทดลอง กระบวนการ
                                                 เอกสารในรูปแบบต่างๆ บันทึก   ทดลอง ผู้ตอบแบบสอบถามที่

                                                 หลักฐาน ภาพถ่าย ภาพเขียน    นักวิจัยได้ตั้งคําถามและกําหนด
                                                 โสตทัศนูปกรณ์ในรูปแบบต่างๆ   คําตอบไว้ล่วงหน้าแล้วผู้ตอบเลือก
                                                 รวมทั้งข้อมูลที่ได้มาจากสื่อสังคม คําตอบตามความเห็นของตน
                                                 ออนไลน์หรือแอพพลิเคชั่น หรือ  เอกสาร หลักฐานต่างๆ ที่สามารถ
                                                 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ  นับจํานวน หรือ วัด ชั่ง ตวง
                                                 ที่มีความหลากหลาย           ออกมาได้
                     3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการ  ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบต่างๆ   แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิง
                     วิจัย                       ทางการวิจัยเชิงคุณภาพ       ปริมาณ การทดลองแบบต่างๆ

                                                 แบบสอบถามปลายเปิด การงเกต  การจดบันทึกข้อมูลการทดลอง
                                                 การเข้าร่วม ทั้งเข้าร่วมและสังเกต  ข้อมูลหรือสถิติต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว
                                                 เก็บรวบรวมข้อมูลแบบเชิง     เช่น รายงานผลการสํามะโน
                                                 คุณภาพจาก เอกสารจาก บันทึก  ประชากร เวชระเบียนใน

                                                        4                      สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16