Page 9 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 9
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
คําสําคัญ: การวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์เนื้อหาแบบทางเลือก
Abstract
This academic article aims to present a newly developed method of content
analysis for qualitative research data analysis. This method has been adapted from the original
conventional content analysis that is particularly being used in grounded theory study and
those general qualitative research studies without a specific qualitative research strategy. It
simplifies the complexity of the original method by reducing and adapting certain steps in the
process of analysis while being able to achieve the goals and results of the data analysis of
the study at the same time. This method could be an additional alternative for novice
qualitative researchers and those who have newly shifted their paradigm to pursue their
qualitative or mixed methods research project. The essence of the content of this article
comprises (1) Introduction; (2) The nature of qualitative data; (3) The content analysis methods
applying in qualitative research; (4) An alternative approach to content analysis for data
analysis in qualitative research; (5) Conclusions and recommendations,
Keywords: Content Analysis; Qualitative Research; Alternate Approach to Content Analysis
บทนํา
การวิจัยเชิงคุณภาพได้รับความนิยมมากขึ้นในชุมชนวิจัยไทย ทั้งนี้มีผู้ให้ความสนใจ
ในการทําวิจัยเพิ่มมากขึ้นทั้งที่เป็นโครงการวิจัยเชิงคุณภาพโดยตรงและการวิจัยเชิงคุณภาพที่เป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการวิจัยแบบผสม อย่างไรก็ตามนักวิจัยใหม่ที่ทําการวิจัยเชิงคุณภาพหรือนักวิจัยที่เปลี่ยนกระบวนทัศน์
จากการวิจัยเชิงปริมาณมาทําการวิจัยเชิงคุณภาพมักจะประสบปัญหาหลายอย่างเนื่องจากการวิจัยเชิงคุณภาพ
มีลักษณะสําคัญที่แตกต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณอย่างมาก โดย จําเนียร จวงตระกูล (2553: 12-13) ได้
นําเสนอข้อแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณไว้ 15 ประการ และต่อมา วรรณวิชนี
ถนอมชาติ และคณะ (2363: 3-5) ได้นําเสนอความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ
ไว้ 15 ประการ เช่นกัน ซึ่งความแตกต่างที่สําคัญส่วนหนึ่งคือความแตกต่างทางด้านข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยและ
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยแต่ละประเภท และในขณะเดียวกันก็ได้เปรียบเทียบการออกแบบการวิจัย
ระหว่างการวิจัยทั้งสองแบบนี้ให้เห็นว่ามีความแตกต่างกันในด้านการออกแบบการวิจัยถึง 20 ประการ (วรรณ
วิชนี ถนอมชาติ และคณะ, 2363: 5-7) ความแตกต่างของการวิจัยสองแบบนี้ มักเป็นความแตกต่างที่เป็นแบบ
ตรงกันข้าม นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการวิจัยคือกระบวนทัศน์ที่ใช้ในนําทางการวิจัยไปจนถึงการนําเสนอ
ผลการวิจัย โดยความแตกต่างที่สําคัญยิ่งคือข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยกับวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการ
วิจัย
ข้อมูลถือว่าเป็นส่วนสําคัญยิ่งในการวิจัย เพราะถ้าไม่มีข้อมูลก็ไม่มีการวิจัย เนื่องจากข้อมูลที่ใช้ในการ
วิจัยเชิงคุณภาพมีลักษณะที่แตกต่างจากข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการ
วิจัยเชิงคุณภาพก็แตกต่างจากวิธีการที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ นักวิจัยจึงไม่สามารถนําวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
2 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย