Page 92 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 92

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                                         สังคมไทยกับการปรับตัวครั้งใหญ่หลังภัยโควิด


                                                                                                       17
                                                                                             ประเวศ วะสี

                    1.   วิกฤตโควิดทําให้การปรับตัวครั้งใหญ่ของมนุษยชาติเป็นไปได้


                              การระบาดของไวรัสโคโรนา covid-19 ในปลายปีค.ศ.2019 - 2020 มีผลกระทบต่อโลกอย่าง
                    รุนแรงในทุกมิติ ทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง อย่างทั่วถึงจนไม่มีใครในโลกแม้แต่คนเดียวที่รู้สึกว่า

                    ปลอดภัย วิกฤตใหญ่ที่รุนแรงทั่วถึงที่ก่อให้เกิดความสั่นไหวทั้งโลกทําให้เป็นไปได้ที่จะเกิดการปรับตัวครั้งใหญ่
                    ของมนุษยชาติ

                              ก่อนการระบาดของโควิด โลกกําลังวิ่งเข้าสู่สภาวะวิกฤติอยู่แล้วและมีผู้เตือนหลายครั้งหลายหน
                    จากหลายแง่หลายมุมว่ามนุษย์ต้องปรับใหญ่ ถ้าจะพ้นวิกฤตได้ แต่คําเตือนต่างๆ เหล่านั้นก็ไม่มีพลังพอที่จะทํา

                    ให้มนุษย์ปรับตัวได้เพราะกระแสใหญ่ของวิธีคิดและการพัฒนาในโลกปัจจุบันไหลเชี่ยวกรากอย่างไม่มีอะไรจะ
                    ทวนกระแสได้

                              ยกตัวอย่างการเตือนเพียง 3-4 ตัวอย่าง ประมาณ 3 ทศวรรษมาแล้ว  Bill McKibben ได้เขียน
                    หนังสือชื่อ “The End of Nature” ธรรมชาติสิ้นสุดแล้ว รวมทั้งคนอื่นๆ อีกมากหลายที่พยายามชี้ให้เห็นว่า
                    การพัฒนาปัจจุบันได้ทําลายธรรมชาติแวดล้อมจนธรรมชาติจะสิ้นสุดแล้ว และเมื่อธรรมชาติสิ้นสุดมนุษย์ก็อยู่

                    ไม่ได้ ความพยายามนี้รวมทั้งการจัดประชุมสุดยอดของโลกในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า Earth Summit หรือ
                    อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐที่ชื่อ Al Gore ออกมานําการขับเคลื่อนจิตสํานึกของโลกจากหายนะที่จะเกิดขึ้น

                    จากสภาวะโลกร้อน
                              ประมาณ 2 ทศวรรษที่ผ่านมานักปราชญ์ฝรั่ง 3 คนชื่อ Laszlo Grof และ Russell ได้คุยกันที่

                    ชายฝั่งแคลิฟอร์เนียถึงสิ่งที่เขาเรียกว่าวิกฤตอารยธรรมตะวันตก (Western Civilization Crisis) ว่าเป็น
                    วิกฤตการณ์ที่รุนแรงในทุกมิติ และไม่มีทางที่โลกจะหายวิกฤตตราบใดที่โลกยังขับเคลื่อนด้วยอารยธรรม

                    ตะวันตก เพราะเป็นอารยธรรมวัตถุนิยมบริโภคนิยม มีทางเดียวที่โลกจะหลุดพ้นวิกฤต คือ การปฏิวัติจิตสํานึก
                    (Consciousness Revolution) ทั้ง 3 ได้ลงตีพิมพ์หนังสือในชื่อดังกล่าว ในขณะที่ท่านทะไลลามะกล่าวว่า
                    วิกฤตการณ์ปัจจุบันเกิดจากสภาวะพร่องทางจิตวิญญาณ (Spiritual deficiency) และต้องการปฏิวัติทางจิต

                    วิญญาณ (Spiritual Revolution)
                              ก่อนหน้านั้นเนิ่นนานในประเทศไทย ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ได้เรียกร้องว่า “ถ้าศีลธรรมไม่

                    กลับคืนมา โลกาพินาศ” และฝากปณิธานไว้ให้มนุษย์ถอนตัวออกจากวัตถุนิยม
                              พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ตรัสว่า “เราควรถอยหลังเข้าคลอง” เพราะในคลองคลื่นลมสงบเรือไม่

                    ล่มง่าย ในพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” มีเรื่องพ่อค้ามีความโลภออกเรือไปแสวงหาโชคลาภที่สุวรรณ
                    ภูมิแล้วเรือล่ม พ่อค้าจมน้ําตายหมด ในวิกฤตโควิดคราวนี้เรือเศรษฐกิจโลกเผชิญคลื่นลูกใหญ่จมลงหมดสิ้น





                    17  ประเวศ วะสี, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
                                                        85                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97