Page 87 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 87
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
ตารางที่ 2 วิธีการจําแนกเป้าหมายในการประสานความร่วมมือ
วิธีการจําแนกเป้าหมายในการประสานความร่วมมือ
ระดับ (Level) (1) ระดับเครือข่ายความร่วมมือ (collaboration' s)
(2) ระดับองค์การ (organization' s)
(3) ระดับปัจเจกบุคคล (individual' s)
ที่มา (origin) (1) ผู้มีส่วนได้เสียจากภายนอก (external stakeholder)
(2) สมาชิกองค์การ (members)
ความจริงแท้ (authenticity) (1) แท้จริง (genuine)
(2) เทียม (pseudo)
ความเกี่ยวข้อง (relevance) (1) กระบวนการ (process)
(2) สาระสําคัญ (substance)
เนื้อหา (content) (1) แบบพึ่งพิง (dependent)
(2) แบบอิสระ (dependent)
ความเปิดเผย (overtness) (1) เปิดเผย (explicit)
(2) ไม่ระบุ (unstated)
(3) แอบแฝง (hidden)
ที่มา : แปลและดัดแปลงจาก Vangen and huxham (2010, p.165)
การจําแนกประเภทตามระดับของเป้าหมายนั้นพิจารณาในสามระดับ ได้แก่ เป้าหมายในระดับ
ของการประสานความร่วมมือ (collaboration level) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายรับรู้ได้ว่า
หุ้ นส่ วนความ ร่ วม มื อ ( collaborating partners) ต้ องการที่ จะบรรลุ สิ่ งใดร่ วมกั น
ซึ่งเป้าหมายประเภทนี้ถือว่าเป็นผลประโยชน์ของการประสานความร่วมมือที่ผู้ประสานความร่วมมือทั้งหลาย
เสาะแสวงหา ในทางตรงกันข้าม เป้าหมายระดับองค์การและบุคคลเป็นเป้าหมายที่องค์การและบุคคลที่เข้า
ร่วมประสานความร่วมมือต่างต้องการ ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้มีส่วนสําคัญในการจูงใจ
และนําไปสู่การกระทําที่ขับเคลื่อนการประสานความร่วมมือในทางปฏิบัติ
เป้าหมายในการประสานความร่วมมือยังสามารถจําแนกประเภทได้ตามที่มาของเป้าหมาย
ในทางหนึ่ง เป้าหมายอาจมีที่มาจากสมาชิกภายในการประสานความร่วมมือทั้งระดับองค์การและบุคคล แต่ใน
อีกทางหนึ่ง เป้าหมายยังมีที่มาได้จากองค์การหรือบุคคลภายนอกด้วย เช่น รัฐบาลอาจเป็น
ผู้มีบทบาทสําคัญในการผลักดันให้องค์การหรือบุคคลเข้ามาร่วมประสานความร่วมมือ เป็นต้น หรือหาก
พิจารณาประเภทของเป้าหมายตามความจริงแท้ของเป้าหมาย จะพบว่า เป้าหมายที่นําเสนอโดยสมาชิก หรือผู้
มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก อาจเป็นเป้าหมายแท้จริง (authentic aims) ที่พวกเขาต้องการบรรลุก็เป็นได้ ทว่า
80 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย