Page 88 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 88
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
ยังอาจมีเหตุผลต่างๆ ที่ทําให้พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ระบุถึงเป้าหมายแท้จริงที่พวกเขาต้องการ ยกตัวอย่างเช่น
พวกเขาอาจไม่ได้ใส่ใจอย่างจริงจังกับเป้าหมายที่ถูกกดดันจากภายนอก หรือบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปอาจทําให้
เป้าหมายแท้จริงที่กําหนดไว้สอดคล้องกับความเป็นจริงลดลง หรือองค์การอาจกําหนดเป้าหมายให้สอดคล้อง
กับข้อกําหนดของผู้ให้ทุน ซึ่งนั่นอาจทําให้เป้าหมายนั้นไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงของการประสานความร่วมมือก็
เป็นได้ ซึ่งลักษณะต่างๆ เหล่านี้เรียกว่าเป็นเป้าหมายเทียม (pseudo aims)
การระบุประเภทของเป้าหมายยังพิจารณาได้จากความเกี่ยวข้องของเป้าหมาย ที่มีต่อการ
ประสานความร่วมมือ โดยบางเป้าหมายอาจเป็นเป้าหมายประเภทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการของการประสาน
ความร่วมมือ แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการประสานความร่วมมือ ซึ่งลักษณะแบบนี้ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายที่เป็น
ส่วนหนึ่งของกระบวนการประสานความร่วมมือ ในขณะที่เป้าหมายอีกประเภทนั้นเกี่ยวข้องกับการประสาน
ความร่วมมือซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่เป็นสาระสําคัญของการประสานความร่วมมือนั่นเอง หรือหากพิจารณา
ประเภทของเป้าหมายตามเนื้อหาของเป้าหมาย หลายเป้าหมายอาจมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์สําคัญของ
การประสานความร่วมมือ ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายแบบอิสระ ในขณะที่อาจมีเป้าหมายอีก จํานวนหนึ่งที่เกี่ยวกับ
วิธีการดําเนินการประสานความร่วมมือ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเป้าหมายแบบพึ่งพิง ที่ต้องเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับ
เป้าหมายอื่นๆ
วิธีการจําแนกประเภทของเป้าหมายวิธีการสุดท้าย คือ การพิจารณาว่าเป้าหมายนั้นถูกอภิปราย
หรือนําเสนออย่างเปิดเผยแค่ไหน อย่างไรก็ดี ยังมีความเป็นไปได้ว่า เป้าหมายบางประเภทอาจไม่ได้รับการ
เปิดเผยแก่ผู้ร่วมมือทั้งหลาย ซึ่งเป้าหมายแอบแฝงเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป
ในการประสานความร่วมมือ ในทางปฏิบัติ การที่จะเอ่ยถึงเป้าหมายที่เกี่ยวข้องทุกเป้าหมายนั้น อาจเป็นไปได้
ยากเนื่องจากโอกาสที่จํากัด หลายเป้าหมายที่ไม่ได้ถูกเอ่ยถึงจึงอาจไม่ใช่ด้วยเหตุผลของความตั้งใจที่จะปิดบัง
เป้าหมายเหล่านั้นก็เป็นได้
81 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย