Page 89 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 89

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                                                     บทสรุป (Conclusion)


                              การแก้ไขปัญหาการกระจายอํานาจของท้องถิ่นไทยในภาพรวม ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
                                    ด้วยปัญหาการกระจายอํานาจของท้องถิ่นไทย มีความสลับซับซ้อนอย่างยิ่ง ฉะนั้น ทุก
                    ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และควรตระหนักถึงความสําคัญของ “ตัวแบบการ
                    บริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance)” ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร จํานวน 4
                    ตัวแปร ที่น่าสนใจและมีความเชื่อมโยงสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการร่วมกัน ได้แก่ ตัวแปรที่ 1 การกําหนดเงื่อนไข
                    (Starting Conditions) ตัวแปรที่ 2 การออกแบบสถาบัน (Institutional Design) ตัวแปรที่ 3 ผู้นําที่

                    เอื้ออํานวย (Facilitative Leadership) และตัวแปรที่ 4 กระบวนการการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือ
                    กัน (Collaborative Process) และได้มีการพัฒนาตัวแบบดังกล่าวเพิ่มเติม เพื่อให้มีความน่าสนใจและมีความ
                    เหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่น ในการนํามาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการปกครองท้องถิ่นของไทย นั่นคือ
                    “การบริหารจัดการปกครองท้องถิ่นบนฐานเครือข่ายความร่วมมือ (Collaborative local governance)” ซึ่ง
                    เป็นการวางแนวทางและจัดความสัมพันธ์ในการปกครองท้องถิ่น เพื่อให้ระบบการเมืองเปิดกว้าง
                    และกระจายอํานาจให้แก่ตัวแสดงภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคมและชุมชนมากขึ้น ส่งเสริมให้ตัวแสดงที่
                    มิใช่รัฐสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการริเริ่มความร่วมมือ ตัดสินใจและร่วมทํางานเพื่อท้องถิ่น บนฐาน
                    ความสัมพันธ์แบบร่วมมือกัน ด้วยการแบ่งงานกันทําตามความถนัด แลกเปลี่ยนทรัพยากร เทคโนโลยี ข้อมูล
                    ข่าวสาร และการกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวแสดงต่างๆ ภายในเครือข่ายอย่างชัดเจน เพื่อให้บรรลุ

                    วัตถุประสงค์ที่ต้องการร่วมกัน ทั้งนี้ รูปแบบเครือข่ายสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามแต่ลักษณะของปัญหาและ
                    บริบทแวดล้อม แต่มีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือ การแก้ไขปัญหาการกระจายอํานาจของท้องถิ่นไทยในภาพรวม ให้
                    เป็นรูปธรรม

                                             กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement)

                           ผู้เขียนขอขอบพระคุณสมาคมรัฐประศาสนศาตร์แห่งประเทศไทย เป็นอย่างสูง รวมทั้งแหล่งความรู้
                    จากการสืบค้นในตํารา บทความของนักวิชาการและสื่อออนไลน์ต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของบทความนี้ ทําให้ผู้เขียน
                    ได้มีโอกาสนําเสนอผลงานวิชาการในการประชุมของสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 12 ในวันที่
                    21 พฤษภาคม 2564 โดยบทความนี้ประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงความสําคัญของปัญหาการกระจายอํานาจของ
                    ท้องถิ่นไทยในภาพรวม และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้การกระจายอํานาจให้กับท้องถิ่น
                    ไทยมีทิศทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความทางวิชาการนี้ จะเกิดประโยชน์ต่อวงการและ
                    วิชาชีพทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องบ้างไม่มากก็น้อย



















                                                        82                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94