Page 61 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 61

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020

                                        2.  ความไม่แน่นนอน (Uncertainty)   การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคาดการณ์ได้ยาก

                    ทําให้ทําการพยากรณ์ได้ยาก ส่งผลเกิดเหตุการณ์ที่ทําให้เราแปลกใจอยู่บ่อยๆ และเรื่องที่คิดว่าจะเกิดขึ้นอย่าง
                    แน่นอนอาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ เป็นต้น

                                        3.  ความซับซ้อน (Complexity)   ประเด็นต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะมีความ
                    ซับซ้อนมากกว่าในอดีต นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจะมีความเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนในสังคม

                                        4.  ความคลุมเครือ (Ambiguity)   การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะเป็นที่
                    ไม่ชัดเจน ยากที่จะคาดเดา นอกจากนี้ยังสามารถตีความได้หลายอย่างและหลายลักษณะ

                                 อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้ง 4 ประการเป็นสิ่งมนุษยชาติจะหลีกเลี่ยงไม่ได้
                    ดังนั้น มนุษย์จึงต้องรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับคํากล่าวที่ว่า “ความเสี่ยงสุดยิ่งใหญ่
                    คือการไม่ทําอะไรเลย” ซึ่งเป็นคํากล่าวของโรเบิร์ต โทรุ คิโยซากิ (Robert T. Kiyosaki) นักธุรกิจ

                    และนักเขียนชาวอเมริกัน
                                 การที่มนุษย์จะอยู่รอดภายใต้สถานการณ์ความปรกติใหม่ที่มีปัจจัยทั้งสี่ประการนี้

                    เราสามารถจําลองเป็นแผนภาพได้ดังนี้





                            1. สถานการณ์ที่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้า  2. สถานการณ์ที่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้า
                            ได้ (Know Know)                       ได้บางส่วน (Know Unknow)

                                                                 การบริหารความเสี่ยง






                                      การจัดการความรู้                          การวิจัย




                            3. สถานการณ์ที่พยากรณ์ล่วงหน้าได้แต่จํา  4. สถานการณ์ที่พยากรณ์ล่วงไม่ได้เลย
                            ไม่ได้ (Unknow Know)                  (Unknow Unknow)





                                     ภาพที่ 1 แผนภาพแสดงสถานการณ์ก่อนและหลังความปรกติใหม่

                                 จากแผนภาพการวางแผนในสถานการณ์ต่างๆ สามารถแบ่งได้ 4 ลักษณะ คือ
                                        1.  สถานการณ์ที่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ (Know Know)   เป็นสถานการณ์
                    ในภาวะปรกติหรือสถานการณ์ก่อนมีการระบาดของโรค COVID – 19 การวิเคราะห์ การประเมิน

                    หรือการพยากรณ์สถานการณ์ต่างๆ สามารถทําได้โดยใช้ความรู้ในอดีตมาเป็นฐานในการวิเคราะห์
                                        2.  สถานการณ์ที่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้บางส่วน (Know Unknown)

                    เป็นสถานการณ์ในภาวะปรกติหรือสถานการณ์ก่อนมีการระบาดของโรค COVID – 19 เป็นสถานการณ์
                                                        52                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66