Page 64 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 64
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
ออนไลน์เท่าใดนัก ได้แก่ ด้านมหาวิทยาลัยนั้น อาจารย์ในมหาวิทยาลัยหลายคนยังไม่สามารถจัดการเรียน
การสอนออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการสอนออนไลน์ไม่ควรที่จะเป็นการสื่อสารทางเดียว
คือ อาจารย์พูดกับกล้อง แต่อาจารย์ต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับนักศึกษา คือ การสื่อสารสองทาง
ดังนั้นอาจารย์มหาวิทยาลัยจึงต้องดําเนินการสร้างปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาระหว่างจัดการเรียนการสอน
ออนไลน์ ติดตามความเข้าใจและให้คําปรึกษานิสิตหลังการเรียนการสอน สร้างชุมชนการเรียนของนักศึกษา
สร้างการทํางานกลุ่มในลักษณะออนไลน์ เป็นต้น
ส่วนในด้านนักศึกษานั้นส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่เรียนกับระบบออนไลน์ เนื่องจากขาดอุปกรณ์
ในการเรียนออนไลน์ คือ คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต นอกจากนี้นักศึกษายังขาดการเข้าถึงระบบ
อินเตอร์เน็ตที่รองรับการเรียนออนไลน์ได้ นอกจากนี้รูปแบบการเรียนออนไลน์มีความแตกต่างจากการเรียน
ในห้องคือ การเรียนในห้องเรียนนั้น นักศึกษาฟังอาจารย์ในห้องแล้วจด หลังจากนั้นนักศึกษาก็จะไป
ทําความเข้าใจบทเรียนนอกห้องเรียน แต่รูปแบบการเรียนออนไลน์นั้น นักศึกษาต้องไปเตรียมตัวค้นคว้า
หาความรู้จากนอกห้องเรียนมาก่อน เมื่อเข้ามาเรียนในห้องเรียนออนไลน์นักศึกษาจึงนําเนื้อหาบทเรียน
มาซักถามกับอาจารย์ ซึ่งระบบแบบนี้นักศึกษาของไทยยังไม่คุ้นเคย ดังนั้นการเรียนออนไลน์ของไทยอาจจะไม่
ประสิทธิภาพเท่าที่ควร
จากรายงานของ WEF Global Competitiveness Report 2019 พบว่า ประเทศไทย
มีศักยภาพในการแข่งขันระหว่างประเทศอยู่ในลําดับที่ 40 ได้คะแนน 68 คะแนนจาก 100 คะแนน
แต่เมื่อศึกษาในรายละเอียดพบว่า มีดัชนีบางตัวประเทศไทยได้คะแนนสูงมาก เช่น ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ระดับมหภาค (Macro-economic Stability) ได้ลําดับที่ 43 ได้ 90 คะแนนจาก 100 คะแนน และ ศักยภาพ
ทางการบริการสาธารณสุข (Health) ได้ลําดับที่ 38 ได้ 89 คะแนน จาก 100 คะแนน เป็นต้น ซึ่งเป็นดัชนี
ที่บ่งบอกว่า ระบบการบริหารงานภาครัฐของไทยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถ
รับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรค COVID – 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ดัชนีบางตัว
ของประเทศไทยก็ได้คะแนนต่ํา เช่น ความสามารถในการแข่งขันของหน่วยงานภาครัฐ (Institution) ได้ลําดับ
ที่ 67 ได้ 55 คะแนน จาก 100 คะแนน เป็นการบ่งบอกว่า การบริหารประสิทธิภาพในหน่วยงานภาครัฐ
ยังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร เช่น ระบบสารสนเทศในภาครัฐ เป็นต้น
ระบบราชการยังเป็นระบบที่ต้องใช้ระบบเอกสารที่เป็นกระดาษในหลายส่วน เช่น การติดต่อ
ประชาชนยังต้องใช้สําเนาบัตรประชาชน การทําธุรกรรมกับภาครัฐต้องกรอกแบบฟอร์มหลายฉบับ หน่วยงาน
เก็บเอกสารกระดาษไว้เพื่อป้องกันการตรวจสอบ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเป็นการบริหารงาน
ที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรในโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งจากการจัดลําดับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ใน พ.ศ. 2560
พบว่า ประเทศไทยอยู่ในลําดับที่ 73 ของโลก และ ลําดับที่ 4 ในอาเซียน ซึ่งถือว่าอยู่ในลําดับที่ต่ํา นอกจากนี้
ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ที่กําหนดให้สามารถใช้เอกสาร
อิเล็กทรอนิกส์แทนเอกสารกระดาษ สามารถใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์แทนลายเซ็นด้วยมือ การใช้สัญญา
อิเล็กทรอนิกส์ พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ และการเก็บเอกสารหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่ระบบ
เหล่านี้หน่วยงานภาครัฐของไทยยังใช้อยู่ในวงจํากัด
55 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย