Page 63 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 63
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
การปรับเปลี่ยนขององค์กรจาก COVID – 19
ผลจากการความปรกติใหม่ที่เกิดขึ้นหลัง COVID – 19 เหตุการณ์ต่างจะมีการเปลี่ยนแปลงไป
ใน 3 แนวทาง คือ
1. การเร่งการเปลี่ยนแปลงให้เร็วขึ้น (Accelerate) สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีแนวโน้มที่
จะเกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่ การระบาดของโรค COVID – 19 และสถานการณ์ความปรกติใหม่จะเร่งสิ่งเหล่านี้ให้เกิด
เร็วขึ้น สิ่งเหล่านั้น ได้แก่ เศรษฐกิจจากบ้าน ระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรุ่นหรือระบบไร้สายรุ่นที่ 5(5G)
ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) เนื้อหาออนไลน์ เป็นต้น
2. การชะลอการเปลี่ยนแปลงให้ช้าลง (Delay) ในอดีตสิ่งต่างๆ เหล่านี้มีแนวโน้ม
ที่จะเกิดขึ้น แต่การระบาดของโรค COVID – 19 และสถานการณ์ความปรกติใหม่จะชะลอสิ่งเหล่านี้ให้เกิดช้า
ลง สิ่งเหล่านั้นได้แก่ พลังงานทดแทน เทคโนโลยีหุ่นยนต์ โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ (Megaproject) เป็นต้น
3. การย้อนกลับการเปลี่ยนแปลงให้กลับมา (Reverse) การพัฒนาของแต่ละ
ประเทศในอดีตให้ปัญหาสังคมบางประการบรรเทาและมีความรุนแรงน้อยลง แต่การระบาดของโรค COVID –
19 และสถานการณ์ความปรกติใหม่จะนําสิ่งเหล่านี้ให้กลับมาอีก สิ่งเหล่านั้นได้แก่ การลดความยากจน กระแส
การพัฒนาในประเทศหรือกระแสก่อนโลกาภิวัตน์ เป็นต้น
สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ การทํางานภายในองค์กรในช่วงการระบาดของโรค
COVID – 19 ในช่วงแรกๆ เป็นการทํางานจากบ้าน (Work from Home) ซึ่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
ประเทศไทย หรือ TDRI ได้ลองเก็บข้อมูลการทํางานที่บ้านภายในองค์กรพบว่า องค์กรลดค่าใช้จ่ายจากค่า
สาธารณูปโภคต่างๆ พนักงานในองค์กรลดค่าใช้ในการทํางาน พนักงานในองค์กรได้คุณภาพชีวิตในการทํางาน
ดีขึ้นเพราะไม่ต้องใช้เวลาในการเดินทางมาที่ทํางาน นัดประชุมได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีต เป็นต้น ซึ่งโดยรวมผลิต
ภาพการทํางานที่บ้านดีขึ้นกว่าการทํางานภายในสํานักงาน และเมื่อทาง TDRI ลองสอบถามอย่างไม่เป็น
ทางการกับองค์กรอื่นๆ ก็พบว่าได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกัน
การทํางานที่บ้านถึงแม้จะมีผลิตภาพและผลิตผลที่ดีกว่าการทํางานในสํานักงาน แต่องค์กรก็
ต้องมีการปรับตัวให้สอดรับกับวิถีใหม่ที่เกิดขึ้น คือ องค์กรต้องมีทิศทางชัดเจนในนโยบายการทํางานที่บ้าน
ปรับอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมรับกับการทํางานที่บ้าน องค์กรต้องปรับสู่ระบบเอกสารดิจิตอล องค์กรต้องปรับ
ระบบเวลาการทํางานให้มีอิสระ องค์กรต้องปรับระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน อง๕กรต้องสร้างระบบการ
ทํางานเป็นทีม เป็นต้น
ศักยภาพของประเทศไทยกับการรองรับสถานการณ์ความปรกติใหม่ (New Normal)
ประเทศไทยหลังสถานการณ์การระบาดของโรค COVID – 19 หลายภาคส่วนได้มีการปรับตัว
ให้เข้ากับสภาวะความปรกติใหม่ ตัวอย่างองค์กรที่มีการปรับเปลี่ยน ได้แก่ มหาวิทยาลัย กล่าวคือ
มหาวิทยาลัยของไทยหลายแห่งมีการปรับตัวเพื่อให้การเรียนและการสอนยังดําเนินอยู่อย่างราบรื่น
เช่น มหาวิทยาลัยมีนโยบายและมาตรการช่วยเหลือนักศึกษา มีการปรับการเรียนการสอนเป็นรูปแบบออนไลน์
เป็นต้น อย่างไรก็ตามทั้งมหาวิทยาลัยของไทยและตัวนักศึกษาเองก็ยังไม่พร้อมกับรูปแบบการเรียนการสอน
54 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย