Page 13 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 13

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                    ตารางที่ 2: ส่วนประกอบสําคัญของการวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ



                             คํา                                    ความหมาย
                     การย่อ              การย่อ (Condensation) เป็นกระบวนการในการย่อข้อความให้สั้นลง ในขณะที่
                     (Condensation)      ยังคงรักษาความหมายหลักไว้
                     รหัส                รหัส (Code) เป็นฉลาก หรือ ชื่อ ที่สามารถอธิบายความหมายได้ชัดเจนที่สุดว่า
                     (Code)              หน่วยความหมายย่อ (Condensed Meaning Units) นั้นหมายความว่าอย่างไร
                                         ตามปกติจะมีความยาวเพียงหนึ่งหรือสองคํา
                     หัวข้อเรื่อง        หัวข้อเรื่อง (Category) เป็นการนําเอารหัสหลายรหัสที่มี ความสัมพันธ์กันในด้าน
                     (Category)          เนื้อหาหรือบริบทมารวมเป็นกลุ่มเดียวกันแล้วตั้งชื่อขึ้นมาใหม่เป็นหัวข้อเรื่อง

                                         (Category) หัวข้อเรื่องจะตอบคําถามเกี่ยวกับ ใคร? อะไร? เมื่อไร? หรือ ที่ไหน?
                     หัวข้อเรื่องหลัก    หัวข้อเรื่องหลัก (Theme) เป็นการนําเอา หัวข้อเรื่อง (Category) ที่มีความหมาย
                     (Theme)             พื้นฐาน (Underlying meaning) เช่น ความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในตั้งแต่สอง
                                         หัวข้อเรื่องขึ้นไปมารวมไว้อยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วตั้งชื่อใหม่ขึ้นมาเป็นหัวข้อเรื่อง
                                         หลัก (Theme) หัวข้อเรื่องหลักจะตอบคําถามเกี่ยวกับ ทําไม? อย่างไร? ใน
                                         ทิศทางใด? หรือ โดยวิธีการใด?

                    ที่มา: แปลและดัดแปลงจาก Erlingsson & Brysiewicz, 2017: 94; จําเนียร จวงตระกูล และ นวัสนันท์  วงศ์
                    ประสิทธิ์, 2562: 5.
                           จากตารางที่ 2 จะเห็นว่า การย่อ (Condensation) เป็นการนําเอาประเด็นจากข้อมูลที่เป็นข้อความ
                    มาตั้งชื่อใหม่ที่เป็นตัวแทนของความหมายของข้อความนั้นๆ ซึ่งอาจเป็นคําหรือวลีสั้นๆ การย่อนําไปสู่การ

                    กําหนดรหัส (Code) ที่มาจากข้อมูลที่เป็นข้อความ รหัสนําไปสู่การกําหนดกลุ่มของรหัสที่มีความหมายที่
                    คล้ายคลึงกันที่สามารถจัดรวมเข้าไว้ในหมวดหมู่หรือประเภทเดียวกันได้ โดยตั้งชื่อของหมวดหมู่ขึ้นมาใหม่

                    เรียกว่าหัวข้อรอง (Category) จากหัวข้อรองนี้จะนําไปสู่หัวข้อหลัก (Theme) โดยการนําเอาหัวข้อรองหลาย
                    หัวข้อ ที่สามารถจัดเข้าไว้ในหมวดหมู่เดียวกันได้มารวมไว้ในหมวดหมู่เดียวกันแล้วตั้งขื่อขึ้นมาใหม่เรียกว่า
                    หัวข้อหลัก ซึ่งหัวข้อหลักนี้จะใช้เป็นปัจจัยหรือองค์ประกอบ (Factor) ที่นําไปสร้างทฤษฎีหรือแบบจําลองหรือ

                    นําไปอธิบายผลของการวิจัยต่อไป

                           ส่วนประกอบสําคัญทั้ง 5 ส่วนนี้จะใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทั่วไปแล้ว

                    จะเริ่มจาก การลงรหัส ซึ่งการจัดทําการย่อจะช่วยให้นักวิจัยสามารถกําหนดรหัสได้สะดวกขึ้น เหมาะสําหรับ
                    นักวิจัยใหม่ที่ยังขาดประสบการณ์ในการวิเคราะห์ ส่วนนักวิจัยที่มีประสบการณ์มากพอแล้ว อาจข้ามไปเริ่มต้น

                    จากการกําหนดรหัสแล้วนําไปสู่ การจัดประเภทข้อมูลเป็นหัวข้อรองแล้วก้าวไปสู่การกําหนดหัวข้อหลักต่อไป









                                                        6                      สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18