Page 14 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 14

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                               วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทั่วไป


                           Hsieh & Shannon (2005: 1277) ได้แบ่งวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย

                    เชิงคุณภาพ ออกเป็น 3 แบบคือ (1) แบบดั้งเดิม (Conventional content analysis) (2) แบบกําหนดทิศทาง
                    ล่วงหน้า (Directed content analysis) (3) แบบสรุปความ (Summative content analysis) ซึ่งจะได้

                    อธิบายวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแต่ละแบบ โดยสังเขปและทําการเปรียบเทียบวิธีการในการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้
                    ในการวิจัยเชิงคุณภาพทั้งสามแบบตามที่ จําเนียร จวงตระกูล และ นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์ (2562: 5-8) ได้
                    นําเสนอไว้ในลําดับต่อไป


                           การวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม (Conventional content analysis) ถือเป็นแบบพิธีหรือทําเนียม
                    การปฏิบัติของการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้มาอย่างต่อเนื่องในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้

                    ยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพแบบการศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎี (Grounded theory) ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยใน
                    ประเด็นหรือโจทย์การวิจัยที่เป็นเรื่องใหม่หรือในกรณีที่ยังไม่มีทฤษฎีรองรับ เป็นการวิจัยที่สร้างความรู้ใหม่

                    หรือทฤษฎีหรือแบบจําลองใหม่ขึ้นมาเพื่ออธิบายปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ยังไม่ปรากฏมีผู้
                    ทําการศึกษามาก่อน สามารถใช้เป็นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลสําหรับการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทั่วไปที่ไม่ได้ใช้

                    ยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ยุทธศาสตร์การวิจัย
                    แบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ นอกเหนือจากยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพแบบการศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎี

                    ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น นักวิจัยจะเริ่มต้นการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมก่อน
                    แล้วจึงก้าวไปทําการวิเคราะห์ข้อมูลตามกระบวนการและขั้นตอนที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะสําหรับการ
                    วิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยที่ใช้ยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพแบบนั้นๆ ต่อไป กระบวนการวิเคราะห์เริ่มต้น

                    จากการอ่านและทําความเข้าใจกับเนื้อหาของข้อมูลซึ่งพิจารณาจากเนื้อหาของข้อความโดยพิจารณา
                    สาระสําคัญของเนื้อหาของข้อความทีละหน้ากระดาษ ทีละวรรค ทีละประโยค ทีละวลี หรือทีละคํา แล้ว

                    ตีความหมายของเนื้อหานั้นๆ ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แล้วจึงตั้งชื่อขึ้นมาใหม่แทนข้อความในหน้า วรรค
                    ประโยค วลี หรือคํา เหล่านั้น ขั้นตอนนี้เรียกว่าการกําหนดรหัส (Code) จากเนื้อหาของข้อมูลที่เป็นข้อความ

                    จากนั้นจึงทําการจัดกลุ่มของรหัสที่มีความหมายคล้ายคลึงกันเข้าไว้ในกลุ่มหรือหมวดหมู่เดียวกันเป็นประเภท
                    ข้อมูลเดียวกัน ซึ่งเรียกว่าหัวข้อรอง (Category) ในกรณีที่มีประเภทข้อมูลหรือหัวข้อรองประเภทเดียวกัน

                    จํานวนมาก อาจจัดกลุ่มหรือหมวดหมู่โดยแบ่งออกเป็นประเภทข้อมูลย่อย หลายกลุ่มอยู่ภายใต้ประเภทข้อมูล
                    เดียวกันได้ ซึ่งเรียกว่าประเภทข้อมูลย่อย (Sub-category) ในลําดับต่อไป จึงทําการจัดกลุ่มหรือหมวดหมู่ของ
                    ประเภทข้อมูลโดยการนําเอาประเภทข้อมูลที่มีความหมายคล้ายคลึงกันที่สามารถจัดเข้ารวมกลุ่มอยู่ในกลุ่ม

                    หรือหมวดหมู่เดียวกันได้เข้าไว้ด้วยกันเป็นประเด็นหลัก (Theme) ประเด็นหลักเป็นปัจจัยหรือองค์ประกอบ
                    (Factor) ที่นําไปใช้ดําเนินการต่างๆ ต่อไป เช่น การสร้างทฤษฎี แบบจําลอง การอธิบาย หรือการอภิปราย

                    ผลการวิจัยเป็นต้น

                           การวิเคราะห์เนื้อหาแบบนี้เป็นการวิเคราะห์ที่ใช้ในกรณีที่ยังไม่มีทฤษฎีรองรับและใช้กับการวิจัยเชิง

                    คุณภาพที่ไม่ได้เลือกใช้ยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะดังที่ได้กล่าวมาแล้วจึงเหมาะ
                                                        7                      สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19