Page 29 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 29
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
บทนํา (Introduction)
การจัดที่ดินให้ราษฎรตามโครงการจัดที่ดินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) มีหลายหน่วยงานที่
เข้าร่วมโครงการดังกล่าว สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ดําเนินการภายใต้โครงการจัดที่ดินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล โดยการนําแปลงที่ดิน
ที่ว่างมาจัดให้ราษฎรที่ยากจน สามารถทําให้โครงการดําเนินการไปได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม
การดําเนินงานก็ยังมีประเด็นปัญหาให้มีการศึกษาติดตาม ตรวจสอบ พัฒนา ปรับปรุงแก้ไข ให้มีประสิทธิภาพ
มากขึ้น ผู้ศึกษาจึงเลือกพื้นที่โครงการในเขตปฏิรูปที่ดินมาทําการศึกษาในโอกาสนี้
นโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรดิน
ความพยายามในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการบริหารจัดการทรัพยากรดินให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดมีมาในทุกรัฐบาล คําแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557 (สํานักงานเลขานุการ
คณะรัฐมนตรี., 2557) ทั้งในด้านที่ 3 และ ด้านที่ 9 โดยด้านที่ 3 การลดความเหลื่อมล้ําของสังคม
และการสร้างโอกาสการเข้าถึงการบริการของรัฐ ในขณะที่ด้านที่ 9การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร
และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยหลักแล้วรัฐบาลต้องการแก้ไข
ปัญหาพื้นฐานของประเทศเกี่ยวกับทรัพยากรดิน 2 ประเด็นคือ การกระจายสิทธิการถือครองที่ดิน และการ
แก้ไขปัญหาการบุกรุกในที่ดินของรัฐ
นโยบายการกระจายสิทธิการถือครองที่ดิน
ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศไทยได้ปรากฏชัดเจนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 –2564) (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ [สศช.], 2554, 2559) ที่ระบุไว้ในแต่ละส่วน ได้แก่ ในส่วนที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ประเทศ ในยุทธศาสตร์ที่ 2 “การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ําในสังคม” โดยวางไว้ในข้อ 3
แนวทางในการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนี้ ข้อ 3.1 เพิ่มโอกาสให้กับ
กลุ่มเป้าหมายประชากรร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ําสุดให้สามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพรัฐ และมีอาชีพ 3.1.3
สร้างโอกาสในการมีที่ดินทํากินของตนเองและยกระดับรายได้ โดยรัฐเข้าไปสนับสนุนการมีที่ดินทํากินอย่าง
ยั่งยืนในรูปแบบที่ครบวงจร ตั้งแต่การจัดสรรที่ดินทํากินอย่างมีเงื่อนไขเพื่อป้องกันการเปลี่ยนมือผู้ ได้รับการ
จัดสรรที่ดินให้แก่กลุ่มคนจน ในภาคเกษตรที่ไร้ที่ดินทํากิน การพัฒนาทักษะความชํานาญ การจัดสรรเงินทุน
เพื่อประกอบอาชีพอย่างทั่วถึง การขยายโอกาสในการเข้าถึงข่าวสาร สารสนเทศและองค์ความรู้ในการ
ประกอบอาชีพและการสนับสนุนด้านการตลาด ตลอดจนส่งเสริมทักษะการบริหารเงินเพื่อให้สามารถจัดการ
รายได้ เงินทุน และหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารที่ดิน เพื่อเป็นกลไกที่ทําให้เกิด
การกระจายการถือครองที่ดินที่จะช่วยให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรผู้ยากจนได้มีที่ดินทํากินและมีที่อยู่อาศัย 3.1.4
กําหนดนโยบายการคลังเพื่อลดความเหลื่อมล้ําในสังคมและเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มคนที่มี รายได้น้อยให้มี
ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มการจัดเก็บภาษีจากฐานทรัพย์สิน และปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีที่มี
ประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ตลอดจนปรับโครงสร้างการจัดสรร
งบประมาณรายจ่ายภาครัฐ โดยให้ความสําคัญกับการจัดสรรงบประมาณเชิงบูรณาการและเชิงพื้นที่ที่มีการ
กําหนดเป้าหมายเพื่อลดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ําในสังคมควบคู่ไปกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจ (สศช.
, 2559) ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ระบุไว้เกี่ยวกับการกระจาย
22 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย