Page 245 - thaipaat_Stou_2563
P. 245
งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓
นับเป็นโชคดีที่คณะท างานเลือกที่จะเดินเท้าจากที่พักไปเพื่อสัมภาษณ์โกไข่ เมื่อเดินผ่านหอนาฬิกาของเมือง
เบตง จึงมีโอกาสได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของผู้คนในอาเภอเบตงในยามเช้า ที่มีทั้งกลุ่มที่ออกมาซื้อของในตลาดสดไป
ประกอบอาหาร กลุ่มที่ออกมาดื่มน้ าชา รับประทานอาหารเช้าร่วมกับครอบครัว กับเพื่อน ภาษาหลักที่ใช้ในการสื่อสาร
ของชาวบ้านที่นั่นคือ “ภาษาจีน” และด้วยความที่หน้าตาของคณะท างานมีเชื้อจีนอยู่บ้างจึงค่อนข้างกลมกลืนกับคน
พื้นถิ่น ได้รับเสียงทักทายเป็นภาษาจีนตลอดระยะเวลาที่เดินชมตลาด” และแน่นอนว่าทุกคน “ได้แต่ยิ้ม....”เพราะไม่มี
ใครฟังรู้เรื่องเลยแม้แต่คนเดียว
ื่
ในช่วงที่เดินผ่านตลาดสดเพอไปหาโกไข่นั้น จะต้องเดินผ่านซอยเล็กซอยน้อยมากมาย แต่ละซอยที่เดินผ่าน
จะการวาดภาพสวยงามไว้ให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ผ่านไปมาได้ถ่ายภาพ คล้ายๆกับย่านเมืองเก่าของสงขลา ตึกร้านบ้าน
ช่อง ตึกแถวที่คงอยู่แสดงกลิ่นไอของวัฒนธรรมดั้งเดิมที่แยกไม่ออกว่าเป็นจีน ไทย หรือมลายู ดูกลมกลืนอย่างน่าทึ่ง
ิ
ั
เมื่อเดินทางย่านที่เป็นร้านขายอาหาร จะพบว่า มีร้านค้าร้านอาหารทั้งของชาวไทย-จีน อสลาม พุทธอยู่รวมกน
ผสมผสานอย่างลงตัว มีแผงขายอาหารสดจ าพวก ผักพื้นบ้าน ปลา ไก่ และหมู
เมื่อเดินเข้าไปในตลาดสด จุดหมายปลายทางคือร้านกาแฟของโกไข่ เห็นป้ายร้านเด่นชัด ด้วยค าว่า “อ าเภอเบ
ตง” เมื่อมองเข้าไปในร้านของโกไข่จะเห็นภาพสีกรอบสีทองที่ติดไว้เหนือประตูที่จะเข้าไปในพื้นที่ส่วนตัว คือ ภาพที่โก
ไข่ได้รับรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ส่วนผนังของร้านตกแต่งด้วยรูปภาพขาวด าในยุค
ก่อน และภาพสีในยุคปัจจุบัน ที่ผนังด้านซ้าย ขวา และด้านหลัง ติดกับผนังมีชั้นวางของ และตู้เก็บของที่เก็บรวบรวม
ภาพ รวมถึงของใช้เก่า เช่น ป้ายทะเบียนรถ เบตง โทรทัศน์ ด้านหน้าจัดเป็นโต๊ะเก้าอี้ไม้ ส าหรับนั่งพูดคุยพร้อมทั้งจิบ
ชา กาแฟและเครื่องดื่มที่หลากหลายโดยโกไข่ ถัดเข้าไปเล็กน้อยเป็นส่วนที่ท าเครื่องดื่ม เมื่อคณะนักวิจัยเข้าไป โกไข่
ทักทาย พร้อมทั้งให้ชมภาพต่างๆ พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวของภาพให้ฟัง
นักวิจัยได้สอบถามถึงภาพแรกหรือจุดเริ่มต้นของการสะสมภาพเก่าจึงทราบจากโกไข่ว่า “ภาพที่ถ่ายตอน
ี่
ี
เด็กๆ กับพสาวน้องสาว ไปรื้อ แล้วมีภาพ คราวนี้จึงเจอภาพในหลวง” และเมื่อสอบถามถึงรายละเอยด เกี่ยวกับภาพ
ทั้งหมด โกไข่เล่าว่า “ผมยังไม่ได้เรียงเลย ไม่ได้ถ่ายเองเลยนะ ไปหามาใช้เวลาสะสมภาพ ๑๐ ปี ไม่ได้นับนิ้ว ท าไปไม่ได้
คิดนะ นับนิ้วมีทั้งหมด ๓๐๐ นี่คือ สต๊อกที่เก็บภาพเนี่ย ก็กรมศิลป์ทึ่ง ทุกอย่างต้องเป็นเบตง ถ้าไม่เบตงจะไม่เก็บ ไม่รู้
ู
จะเก็บไปท าไม” หลังจากนั้นจึงชวนให้นั่งพดคุยกัน โกไข่ได้เล่าต่อว่า “ก็ท าไป ไม่ได้คิดหรอก อยากจะท า ท าแล้วก็
สนุก” ทั้งนี้ภาพที่โกไข่สะสมภาพต้นฉบับจะเป็นภาพเล็กแล้วโกไข่จึงน ามาอัดขยายใส่กรอบให้ได้ชมกัน “ตอนแรกเป็น
ั
ภาพเล็กๆ อดขยายมาใหม่ หมดเงินไปไม่รู้กี่แสน แต่ก็ไม่ได้ซีเรียส ท าได้แค่ไหนก็ เป็นแบบนี้นะ ๑๐ ปีอะ จากภาพ
่
เล็กๆ” การเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์จากภาพ โกไข่ เกิดจากการรวบรวมภาพ “รูปเบตงอย่างเดียว ไปหา ไปขอ หน่วย
ราชการมันต้องมี ผมไปถามเลย ไปถาม ไปขอ”
ผู้ให้ข้มูลหลักได้ให้ข้อมูลที่มาของหมู่บ้านจุฬาภรณ์10 โดยภาพรวมพอสรุปได้
ผู้ให้ข้อมูลส าคัญที่เป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านรุ่นที่ ๓ และปัจจุบันเป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวชุมชน นาย
ั
ิ
ี
พงษ์พฒน์ พริยะไทย ได้เล่าถึงเรื่องราวของหมู่บ้านต่ออกว่า หมู่บ้านจุฬาภรณ์พฒนา ๑๐ โชคดีมากที่พระองค์
ั
เจ้าฟาหญิงจุฬาภรณ์ฯ ทรงรับให้เป็นหมู่บ้านในโครงการพระราชด าริของพระองค์ ไม่เช่นนั้นแล้วชาวบ้านก็จะล าบาก
้
เนื่องจากตอนที่ออกมาจากป่าเพื่อร่วมเป็นผู้พัฒนาชาติไทยนั้น คนส่วนใหญ่มีอายุมากแล้วกว่า ๔๐ ปีขึ้นไป
ี
ผู้ให้ข้อมูลส าคัญเล่าต่ออกว่า ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจุฬาภรณ์พฒนา๑๐ นี้ มีประวัติศาสตร์ความ
ั
ั
เป็นมาที่แท้จริง ที่ทุกคนล้วนเคยผ่านการต่อสู้มากว่า ๔๕ ปี ได้รบต่อต้านทั้ง ญี่ปุ่น องกฤษ แล้วก็สงครามภายใน
การต่อต้านญี่ปุ่นนั้นเกิดขึ้นในขณะที่ยังอาศัยอยู่ที่มาเลเซีย เมื่อมาเลเซียตกเป็นอาณานิคมขององกฤษ ก็ต้องมาต่อสู้
ั
ั
ั
กับองกฤษอก “แต่ว่าสมัยนั้นก าลังพลของเราไม่เท่าไหร่ตกประมาณ ๕-๖ พนคน แต่องกฤษเขาระดมทหารมา ๔ แสน
ั
ี
คน ตอนนั้นพวกเราสูญเสียไปมากคนจนเราอยู่ไม่ได้จึงต้องถอยมาอยู่ที่เบตง เหลือที่มาอยู่เบตงประมาณ ๕๐๐ คน ถ้า
พูดถึงอยู่เบตงก็ ๔๐ ปี ปี ๑๙๕๐ คือฐานทัพของเราตั้งอยู่ในป่าผืนนี้หมดเลย เพราะฉะนั้นพระราชินีเสด็จฯ มา ท่านก็
ยกย่องพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา บอกว่าสมัยนั้นถ้าไม่มีคอมมิวนิสต์มาลายาอยู่ข้างในนี้ป่าผืนนี้หมดไปแล้ว ไม่เหลือ
แล้ว ก็จริงเพราะว่าตอนเราอยู่ไม่มีใครกล้าเข้าไปไง มันมีทุ่นระเบิด”
243