Page 250 - thaipaat_Stou_2563
P. 250
งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓
Keyword: Constitution, Decentralization, Local Government
บทน ำ
หากพจารณารูปแบบและองค์ประกอบของผู้ชุมนุมในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 จะ
ิ
พบว่า การชุมนุมต่อต้านการสืบทอดอ านาจของคณะรัฐประหารไม่จ ากัดตัวอยู่เพียงแค่ในกรุงเทพมหานคร แต่
ยังเกิดขึ้นในจังหวัดต่างๆ มากกว่า 30 จังหวัดด้วย (ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล 2553, 3) โดยที่ผู้ชุมนุมจ านวนมาก
เป็นคนชั้นกลางที่มีงานท าและรายได้ประจ า คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มพลังทางการเมืองที่ส าคัญแต่มิใช่ฐานเสียงหลัก
ในสมการทางการเมืองการเลือกตั้งในเวลานั้น (เอนก เหล่าธรรมทัศน์, 2556, 7-20 และดูข้อโต้แย้งต่อ
ข้อเสนอของเอนกใน ประจักษ์ ก้องกีรติ, 2555) ในแง่นี้ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จึงชี้ให้ถึงความพยายามที่
กลุ่มพลังทางการเมืองนอกระบบราชการในเวลานั้นพยายามเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองให้มากยิ่งขึ้นจน
พลังของชนชั้นน าทางการเมืองและระบบราชการมิอาจต้านทานกระแสความต้องการเหล่านี้และน ามาสู่
ื่
กระบวนการปฏิรูปการเมืองไทยเพอเปิดที่ทางรองรับบทบาทกลุ่มพลังนอกระบบราชการที่เติบโตเด่นชัดขึ้น
69
อย่างมีนัยส าคัญในที่สุด
ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดการปฏิรูปการเมืองอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นผ่านการร่างรัฐธรรมแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งถือกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนฉบับแรกและเป็นรัฐธรรมนูญที่
ได้รับการยอมรับเอาแนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (participatory democracy) มาใช้เป็นพื้นฐาน โดย
แสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วยการมีบทบัญญัติว่าด้วยการกระจายอานาจเอาไว้อย่างกว้างขวาง บทบัญญัติ
เหล่านี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายอานาจสู่ท้องถิ่นอย่างจริงจังในประเทศไทย นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ
การเมืองของการกระจายอานาจลงความเห็นว่า รัฐธรรมนูญนี้มีส่วนส าคัญในการพลิกโฉมหน้าการปกครอง
ส่วนท้องถิ่นของไทยเลยทีเดียว (ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล 2555, 4) อีกทั้งยังเป็นการวางรากฐานให้กับการปกครอง
ท้องถิ่นของไทยไว้อย่างมั่นคงผ่านกฎหมายและกลไกต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามมาตามหลักรัฐธรรมนูญนิยม
(constitutionalism)
กระนั้นก็ดี ด้วยความผันผวนและวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในตลอด 15 ปีที่ผ่านท าให้มีการ
ยกเลิกรัฐธรรมนูญและร่างรัฐธรรมนูญใหม่อกถึงสองฉบับ (ไม่นับฉบับชั่วคราว) กล่าวคือ รัฐธรรมนูญแห่ง
ี
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 โดยที่รัฐธรรมนูญสอง
ฉบับหลังนี้ถูกร่างขึ้นด้วยกลไกที่ตั้งขึ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวของคณะรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 และ
พ.ศ. 2557 ตามล าดับ แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 ที่เกิดขึ้นจากกระแสการเรียกร้องการ
ปฏิรูปการเมืองภาคประชาชนอย่างกล่าวขวาง ในแง่นี้แล้ว รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 จึงดูเหมือนจะเกิด
ี
จากการเรียกร้องจาก “เบื้องล่าง” (from above) ขณะที่รัฐธรรมนูญอกสองฉบับหลังดูจะถูกมองว่ามาจากมา
จาก “เบื้องบน” (top-down) มากกว่า แม้ว่าจะผ่านการลงประชามติแล้วก็ตาม
อย่างไรก็ตาม หากนับว่าการกระจายอานาจเป็นกระบวนการส่งเสริมประชาธิปไตยจากฐานรากที่
ส าคัญที่สุดแล้ว (โกวิทย์ พวงงาม, 2555, 27) ก็น่าสนใจว่าความเปลี่ยนแปลงทั้งในทางที่มาและเนื้อหาที่
เกิดขึ้นนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 สู่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จนถึงรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2560 นี้จะส่งผล
ให้เกิดความแปรเปลี่ยนในการกระจายอานาจสู่ท้องถิ่นอย่างไรบ้าง รัฐธรรมนูญสองฉบับหลังซึ่งมีที่มาจาก
69 คงต้องกล่าวด้วยว่าเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ผู้ชุมนุมหลักอาจมิใช่ผู้คนชั้นกลางในเมืองแต่อาจเป็นผู้มีรายได้น้อย ชาวนาชาวไร่
โดยเฉพาะหากพิจารณาตามรายชื่อของผู้เสียชีวิต แต่อย่างไรก็ตาม คงต้องยอมรับว่าพลังของวาทกรรม “คนชั้นกลาง” ในเวลานั้นมีอิทธิพลทาง
การเมืองสูงเด่นอย่างยิ่งจนเป็นพลังส าคัญในการสร้างแรงกดดันทางการเมืองต่อชนชั้นน าทางการเมืองในเวลานั้นให้ต้องเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้
คนกลุ่มนี้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
248