Page 52 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 52

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                    จากเงื่อนไขทางระบบนิเวศที่องค์กรปกครองท้องถิ่น คือ ความสามารถอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่

                    เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกทั้งแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ การสร้างสมดุล
                    ทางระบบนิเวศ คือ การรักษาเสถียรภาพของระบบนิเวศ การพัฒนาไม่เกิดขีดจํากัดของระบบนิเวศ

                    การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของคนในพื้นที่มีน้อยหรืออย่างค่อยเป็น
                    ค่อยไป การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศวัฒนธรรมมีน้อย การเสื่อมของโบราณสถานมีอยู่น้อย เป็นต้น

                                        4.  เงื่อนไขทางสังคม (Social Condition): เงื่อนไขทางสังคมเป็นเงื่อนไขที่องค์กร
                    ปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างความตระหนักถึงคุณค่าในตนเองและภูมิใจในสังคมที่ตนเองดํารงอยู่ นอกจากนี้

                    ยังรวมถึงการมีจริยธรรม จรรยาบรรณทางสังคมอีกด้วย โดยผลลัพธ์ทางสังคมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                    ต้องสร้างในพื้นที่ที่ดูแล คือ การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relation) ที่ดี โดยในกรณีนี้คือ
                    ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกแนวทางการสร้างสมดุล

                    ทางสังคม คือ การควบคุมและมีจริยธรรมในอํานาจการบริหารแหล่งมรดกโลก การมีส่วนร่วมของภาค
                    ประชาชนในการดูแลแหล่งมรดกโลก การปรับสถานภาพและรักษาเสถียรภาพของระบบนิเวศ การธํารง

                    เอกลักษณ์ทางสังคมในการรักษาแหล่งมรดกโลก และการพัฒนาสถาบันที่ดูแลแหล่งมรดกโลกเป็นต้น
                                 จากแผนภาพจะเห็นว่า บทบาทและนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                    (Governmental Role and Policy) กับ ความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relation) จะเหนี่ยวนําให้เกิด
                    การถกเถียงและวาทกรรมในสังคม (Discourse) เพื่อให้เกิดการพัฒนาในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่

                    เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลก นอกจากนี้บทบาทและนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Governmental
                    Role and Policy) กับสิ่งจําเป็นในการดํารงชีวิต (Living Needs) จะเหนี่ยวนําให้เกิดแนวปฏิบัติ (Practice)
                    ในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่น

                    ในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกมีลักษณะเป็นส่วนผสม (Hybrid) ระหว่าง
                    ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ ผู้ประสานงาน นักอนุรักษ์ นักนิเวศวิทยา นักสังคมวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์

                    ซึ่งแต่ละบทบาทมีลักษณะและองค์ประกอบที่แตกต่างกัน และในปัจจุบันนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                    ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันตกที่มีพื้นที่ติดต่อกับแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกทั้ง 4 แห่ง

                    ยังไม่อาจที่จะมีบทบาทครบทั้ง 6 ประการ ซึ่งอาจจะต้องดําเนินการพัฒนาต่อไปในอนาคต
                                                           บทสรุป

                                 แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกในกลุ่มจังหวัดภูมิภาคตะวันตกทั้งหมด
                    ในปัจจุบัน คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง กลุ่มป่าแก่งกระจาน ทางรถไฟสายมรณะ
                    และพระปฐมเจดีย์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทางการบริหารรัฐกิจจํานวน 5 จังหวัด คือ จังหวัดนครปฐม จังหวัด

                    กาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งครอบคลุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                    ที่มีพื้นที่รอยต่อหรือพื้นที่อยู่ในการดูแลกับแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกทั้งหมด 36

                    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยภาพรวมแล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างตะหนักถึงความสําคัญ
                    และคุณค่าของแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลก แต่อย่างไรก็ตามบทบาทที่องค์กรปกครอง

                    ส่วนท้องถิ่นในแต่ละแห่งที่แสดงออกมาในประเด็นการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดก

                                                        45                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57