Page 49 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 49

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                    ในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละแห่ง

                    จึงทําได้ไม่ง่าย
                                        3.  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมในการอนุรักษ์

                    แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลก: ตามมาตรฐานการบริหารจัดการในการอนุรักษ์
                    แหล่งมรดกโลกของ UNESCO องค์กรปกครองท้องถิ่น หรือ Local Heritage Authority ต้องเป็นองค์กรที่มี

                    บทบาทในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่กันชน (Buffer Zone) ร่วมกับองค์กรอื่นๆ เช่น ภาคเอกชน
                    (Private Owner) และ องค์กรพัฒนาเอกชน (Non-government Organization, NGO) (UNESCO World

                    Heritage Center, 2013) แต่การอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกต้องใช้องค์ความรู้ เทคนิค วิธีการและการ
                    ประสานงานกับองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจําเป็นต้องได้รับการ
                    พัฒนาศักยภาพทั้งด้านบุคลากรและองค์กร ซึ่งจําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจากทุกฝ่าย

                    โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานระดับชาติ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
                    และพันธุ์พืช สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น แต่ในความเป็นจริง

                    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ทราบบทบาทของตนเองในด้านนี้ และการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วน
                    ท้องถิ่นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลก

                    บางหน่วยงานยังมีไม่มากเท่าที่ควร จึงส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ตระหนักถึงบทบาทของตนเอง
                    และมีความเข้าใจในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกยังไม่มากเท่าที่ควร

                                        4.  แนวคิดในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลก
                    ที่แตกต่างกัน: แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกในแต่ละแห่งจะมีความสัมพันธ์กับชุมชน
                    โดยรอบที่แตกต่างกัน ทั้งแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติและแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ซึ่งก็จะส่งผล

                    กับแนวทางในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวอย่างได้แก่
                    พระปฐมเจดีย์มีความสัมพันธ์กับชุมชนคือ เป็นศาสนสถาน เป็นพื้นที่สาธารณะ (Public Space) เป็นพื้นที่

                    เปิดโล่งในเมือง (Urban Open Space) เป็นตลาดในชุมชน (Community Bazaar) เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
                    เป็นโบราณสถาน เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่าอรรถประโยชน์ (Utility) ของพระปฐมเจดีย์กับชุมชนมีหลากหลาย

                    จึงส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเผชิญกับแนวคิดที่แตกต่างกันในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก
                    และพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลก กล่าวคือ แนวคิดหนึ่งในการอนุรักษ์พระปฐมเจดีย์ควรจะให้เป็นส่วนหนึ่ง

                    ของชุมชนโดยรอบ โดยชุมชนหรือประชาชนโดยรอบสามารถใช้ประโยชน์กับพระปฐมเจดีย์ได้อย่างที่เป็นมา
                    ในอดีต (หนังสือพิมพ์คมชัดลึก, 2554) แต่อีกแนวคิดหนึ่งกลับมองว่า การอนุรักษ์องค์พระปฐมเจดีย์ในฐานะ
                    แหล่งมรดกโลกควรจะป้องกันการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เช่น การพัฒนาเมือง โครงการส่งเสริม

                    การท่องเที่ยว การใช้ประโยชน์ที่ดินที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น (สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ
                    และสิ่งแวดล้อม, 2557) จะเห็นว่าจากตัวอย่างของการอนุรักษ์พระปฐมเจดีย์ในฐานะพื้นที่เตรียม

                    เป็นแหล่งมรดกโลกต้องเผชิญกับแนวคิดในการอนุรักษ์สองกระแส ซึ่งแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียม
                    เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตเมืองหรือชุมชนต้องพบกับการขัดกันของแนวคิด

                    สองกระแส จึงเป็นสิ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องประสบในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียม

                                                        42                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54