Page 53 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 53

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                    โลกในกลุ่มภูมิภาคตะวันตกยังมีความแตกต่างกัน เนื่องจากความสัมพันธ์และบทบาทขององค์กรปกครองส่วน

                    ท้องถิ่นกับแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกซึ่งได้กล่าวไปแล้วในช่วงต้น
                                 นอกจากนี้ภารกิจขององค์กรปกครองท้องถิ่นทุกแห่งมีภารกิจและความรับผิดชอบที่มากมาย

                    จึงส่งผลให้ประเด็นในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกในกลุ่มจังหวัด
                    ภาคตะวันตกจึงอาจเป็นภารกิจที่ไม่อยู่ในลําดับต้นๆ ในการดําเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                    นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายประการที่ไม่เอื้อเฟื้อให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีบทบาทในการอนุรักษ์
                    แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกในภูมิภาคตะวันตก เช่น การขาดแคลนทรัพยากร

                    ทางการบริหาร (บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และองค์ความรู้ในการจัดการ) บทบาทที่ภาครัฐส่วนกลาง
                    มอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกไม่ชัดเจน
                    บทบาทของหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่ชัดเจนในการอนุรักษ์แหล่งมรดก

                    โลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลก เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาในการพัฒนาองค์กรปกครองท้องถิ่น
                    ในประเด็นนี้ต่อไปในอนาคต

                                 โดยการศึกษาชิ้นนี้ศึกษาในเชิงปรากฏการณ์ (Phenomenological Study) และศึกษา
                    บทบาทที่องค์กรปกครองท้องถิ่นที่กําลังเป็นอยู่และสิ่งที่ควรจะเป็นในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่

                    เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกในภูมิภาคตะวันตก โดยอาศัยทฤษฎีนิเวศวิทยาการเมืองเป็นกรอบในการศึกษา
                    ดังนั้นการทําความเข้าใจปรากฏการณ์และเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Policy Recommendation)

                    เพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่นนําไปประยุกต์เป็นทางเลือกเชิงนโยบาย (Policy Alternative) ในการกําหนด
                    บทบาทและทิศทางในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกในภูมิภาคตะวันตก
                    ในอนาคต


                                                         บรรณานุกรม

                    คมชัดลึก, 2554. กรมศิลป์ถอดใจค้านองค์พระ 5 ครั้ง. หนังสือพิมพ์, วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554.
                    จุฑาทิพย์   อุมะวิชนี (ผู้แปล).  2547. วิวัฒนาการแห่งความคิด ภาคมนุษย์และมนุษยชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 4.
                         กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

                    จุฑาทิพย์   อุมะวิชนี (ผู้แปล).   2547. วิวัฒนาการแห่งความคิด ภาคมนุษย์และโลก. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:
                         โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

                    ทินพันธุ์ นาคะตะ. 2526. การพัฒนาสถาบันทางการเมืองไทยในทศวรรษ. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบัน
                         บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ : บํารุงสาส์น.

                    ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ. 2540. วิทยาการบริหาร สําหรับนักบริหารมืออาชีพในยุคโลกาภิวัตน์.กรุงเทพฯ:
                         สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

                    ปกรณ์ ศิริประกอบ.  2540. 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ : แนวคิด ทฤษฎี และการนําไปปฏิบัติจริง.
                         พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.




                                                        46                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58