Page 51 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 51
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
ภาพที่ 1 แผนภาพดุลภาพของระบบนิเวศการเมืองในการอนุรักษ์ (Nattapat Rakwongwan, 2015)
จากแผนภาพที่ 1 สามารถนําแนวคิดนิเวศการเมือง (Political Ecology) มาอธิบายบทบาท
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดภูมิภาคตะวันตกในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียม
เป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งบางส่วนถือเป็นบทบาทที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอยู่ในปัจจุบันและบางส่วนถือ
เป็นบาทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจะเป็นในอนาคต สามารถอรรถาธิบายได้ดังนี้
1. เงื่อนไขทางการเมือง (Political Condition): เงื่อนไขทางการเมืองเป็นเงื่อนไข
ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรับฉันทามติจากประชาชนผ่านการเลือกตั้งและนโยบายจากหน่วยงานภาครัฐ
ส่วนกลาง ซึ่งผลลัพธ์จากเงื่อนไขทางการเมืองที่องค์กรปกครองท้องถิ่นแสดงออกมาคือ บทบาทและนโยบาย
สาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยดุลยภาพทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น คือ การลดความขัดแย้งจาก
ประชาชนในพื้นที่ การสนองนโยบายสาธารณะจากรัฐบาลและหน่วยงานราชการส่วนกลาง ผลทางการเมือง
ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป เป็นต้น
2. เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ (Economic Condition): เงื่อนไขทางทางเศรษฐกิจเป็น
เงื่อนไขที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องบริหารให้ประชาชนในพื้นที่มีเศรษฐกิจที่ดี ประชาชนอยู่ดีกินดี
และมีงานทําซึ่งผลลัพธ์จากเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่องค์กรปกครองท้องถิ่นแสดงออกมา คือ การตอบสนอง
สิ่งจําเป็นในการดํารงชีวิต (Living Needs) ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ โดยดุลยภาพทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้น
คือ การควบคุมการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อให้สมดุลกับระบบนิเวศ การสร้างความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ
และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพในเชิงนิเวศวิทยา
3. เงื่อนไขทางระบบนิเวศ (Ecological Condition): เงื่อนไขทางระบบนิเวศ
คือ เงือนไขที่องค์กรปกครองท้องถิ่นสร้างสมดุลทางระบบนิเวศให้เกิดขึ้นในแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียม
เป็นแหล่งมรดกโลก ตัวบ่งชี้คือ การดํารงอยู่ของกระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการทางชีวภาพ กระบวนการ
ทางเคมี กระบวนการทางกายภาพ กระบวนการทางสังคม กระบวนการทางวัฒนธรรม เป็นต้น ผลลัพธ์
44 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย