Page 48 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 48
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกในภูมิภาคตะวันตก
แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกในภูมิภาคตะวันตกมีความสัมพันธ์
และมีความเกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 5 จังหวัด คือ จังหวัดนครปฐม จังหวัดกาญจนบุรี
จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง 36
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละแห่งมีความเกี่ยวข้อง
และมีอํานาจหน้าที่กับแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถสรุป
ความสัมพันธ์และบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่ง
มรดกโลกได้เป็นประเด็นดังนี้
1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีอํานาจโดยตรงในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก
และพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลก: แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกบางพื้นที่เป็นพื้นที่
ที่อยู่ในการดูแลของหน่วยงานของรัฐที่เป็นหน่วยงานเฉพาะ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ – ห้วยขาแข้ง
เป็นพื้นที่ในการดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นพื้นที่ในการดูแล
ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สถานีชุมทางหนองปลาดุกและสะพานข้ามแม่น้ําแควเป็นพื้นที่
ในการดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทย พระปฐมเจดีย์เป็นพื้นที่ในการดูแลของวัดพระปฐมเจดีย์
ราชวรมหาวิหารและสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นต้น ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงมีหน้าที่
ในการดูแลพื้นที่กันชน (Buffer Zone) ของแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งการดูแล
พื้นที่กันชนของแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกก็ถือเป็นพื้นที่สําคัญไม่น้อยไปกว่าในพื้นที่
ที่เป็นแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลก (สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม, 2561) ซึ่งพื้นที่กันชนเหล่านี้จะอยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นหลายแห่งยังไม่ได้ตระหนักถึงความสําคัญในการดูแลพื้นที่กันชนเหล่านี้
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้มีอํานาจโดยตรง
ในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลก: หน่วยงานผู้แทนของรัฐบาลไทยที่มีอํานาจ
หน้าที่ตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติในที่ประชุมของ UNESCO
ในปัจจุบันคือ กระทรวงศึกษาธิการ (UNESCO, 2021) ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจําเป็นต้องเป็นองค์กร
ประสานงานกับหน่วยงานราชการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการดูแลแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียม
เป็นแหล่งมรดกโลกตามแต่ละประเภทของแหล่งมรดกโลกทั้งแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ
ได้แก่ กรมศิลปากร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้มิได้สังกัดในกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้น ความมีเอกภาพ
ในความร่วมมือในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกขององค์กรปกครองท้องถิ่น
จึงกระทําได้ยาก นอกจากนี้หน่วยงานราชการที่ดูแลแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลก
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างก็มีอํานาจจากกฎหมายคนละฉบับ จึงส่งผลให้แต่ละหน่วยงานมีอํานาจ
ในการดูแลแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกรวมถึงพื้นที่กันชน (Buffer Zone) ที่แตกต่าง
กันตามกฎหมายที่แต่ละหน่วยงานเชื่อมโยงอยู่ ดังนั้นการแสวงหาความร่วมมือจากผู้มีอํานาจโดยตรง
41 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย