Page 217 - thaipaat_Stou_2563
P. 217
งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓
ิ
ิ
ศักยภาพทางเศรษฐกิจของตนเอง โดยอยู่บนตรรกะของการเปิดเสรี การองกฎเกณฑ์ และการแก้ไขข้อพพาท
ื
โดยสันติวิธี ซึ่งจะท าให้การค้าขายกับจีนมีความน่าเชื่อถอ และมีเสถียรภาพมากขึ้นส าหรับสหรัฐ ฯ (Morrison,
4 January 2017, p. 45)
หลังจากที่เข้ามาเป็นสมาชิกแล้ว จีนปฏิบัติตามข้อตกลงในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้เสรียิ่งขึ้น
เพราะจีนเองก็ได้ประโยชน์จากการเปิดตลาดท าให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดดและต่อเนื่อง ตั้งแต่
1979 ถึง 2000 เศรษฐกิจจีนเติบโตถึงหกเท่า จีนติดอนดับหนึ่งในห้าประเทศที่มีมูลค่าการค้าสูงสุดในโลก
ั
ตั้งแต่ปี 1995 (Lardy, 2001) เมื่อจีนเข้ามาเป็นสมาชิก WTO ยิ่งท าให้มูลค่าการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ ฯ
ึ้
เพิ่มขนอย่างมาก ในปี 1979 มูลค่าการค้าระหว่างสหรัฐ ฯ และจีนอยู่ที่ประมาณสี่พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ($4
ั
billion) เท่านั้น แต่ในปี 2015 มูลค่าการค้าทวิภาคีนี้มีมูลค่าถึงห้าแสนเก้าหมื่นเก้าพนล้านดอลลาร์สหรัฐ
ั
($599 billion) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่จีนกลายมาเป็นประเทศคู่ค้าอนดับหนึ่งของสหรัฐฯ
(Morrison, 4 January 2017, p. 2-3)
อย่างไรก็ตาม พบว่าตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา พัฒนาการเหล่านี้เริ่มชะลอตัวลง จีนยังไม่เปิดเสรี
ตามที่ตกลงกันไว้ เห็นได้จากการที่ภาครัฐยังคงเข้ามาแทรกแซงตลาดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการด าเนินการ
รัฐวิสาหกิจ (State-owned Enterprise: SOEs) การเลือกปฏิบัติกับบริษัทต่างชาติโดยก าหนดกฎเกณฑ์และ
ข้อบังคับมากกว่าบริษัทในประเทศ เช่น การบังคับให้ใช้วัตถุดิบท้องถิ่น หรือบังคับให้ถ่ายโอนเทคโนโลยี
สิ่งเหล่านี้สร้างความกังวลให้กับบริษัทของสหรัฐ ฯ ที่เข้าไปท าธุรกิจในจีน น าไปสู่การเจรจาหารือ
ระหว่างเจ้าหน้าที่ของทั้งสองประเทศผ่านช่องทางของ WTO หรือช่องทางทวิภาคีอื่นๆ เช่น สหรัฐฯ และจีนได้
สถาปนาเวทีหารือทวิภาคีของเจ้าหน้าที่ระดับสูง เช่น ปี 2006 มีการตั้ง U.S.-China Strategic Economic
Dialogue (SED) ในสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช และประธานาธิบดีหู จิ่นเทา เพอเป็นเวทีหารือ
ื่
ู
ประจ าปีของเจ้าหน้าที่ระดับสูงโดยมีเจตนารมณ์ที่จะพดคุยถึงความท้าทายในอนาคต และหาทางรับมือใน
ระยะยาวมากกว่าการออกมาตรการระยะสั้น ต่อมาในปี 2009 ประธานาธิบดีบารัค โอบามา และ
ประธานาธิบดีหู จิ่นเทาตกลงเปลี่ยนชื่อเวทีนี้เป็น U.S.-China Strategic and Economic Dialogue (S&ED)
และแบ่งการหารืออกเป็นสองด้านหลักๆ คือ ด้านยุทธศาสตร์ซึ่งเน้นด้านการเมืองและความมั่นคง และด้าน
เศรษฐกิจซึ่งเน้นด้านการค้าการลงทุน เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม พลังงาน สาธารณสุข และสิทธิมนุษยชน
(Morrison, 4 January 2017, p. 53) หลังจากจีนเป็นสมาชิก WTO แล้วเมื่อเกิดข้อพิพาททางการค้า สหรัฐ
ฯ ก็จะใช้กลไกแก้ไขข้อขัดแย้งของ WTO ในการตัดสิน ซึ่งหลายครั้งก็ตัดสินว่าจีนผิดจริง และจีนก็ยอมรับค า
ตัดสินและน าค าแนะน าไปปรับปรุง บางครั้งข้อพพาทสามารถตกลงกันได้เองนอกรอบก่อนจะรายงาน WTO
ิ
นอกจากนี้จีนเองก็เคยใช้กลไกนี้ร้องเรียน WTO เกี่ยวกับสหรัฐ ฯ ในท านองเดียวกันด้วย แสดงให้เห็นว่าจีน
ยอมรับกฎเกณฑ์ดังกล่าว (Nathan, 2016, p. 178)
การมีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดผ่านเวทีหารือที่ส าคัญอย่าง S&ED หรือ WTO เปิดโอกาสให้มีการเจรจา
เพอวางมาตรฐานร่วมกัน หลายครั้งที่สหรัฐ ฯ ได้แสดงความกังวล หรือความไม่พอใจต่อแนวปฏิบัติบางอย่าง
ื่
ในประเทศจีนซึ่งจะกระทบการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ จีนก็รับทราบข้อกังวลและน าไปแก้ไข เช่น ปัญหา
การแทรกแซงตลาดของภาครัฐ ทางสหรัฐ ฯ ได้ผลักดันจีนให้แก้ไขอย่างต่อเนื่อง มีการรายงานว่าแม้ว่ารัฐบาล
จีนยังคงควบคุมภาคธุรกิจที่จีนมองว่าออนไหวต่อเศรษฐกิจและความมั่นคง เช่น การบิน การธนาคาร การ
่
ประกันภัย เทคโนโลยีสารสนเทศ น้ ามันและก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น แต่ในช่วงหลายปีมานี้กว่า 90% ของ
รัฐวิสาหกิจอื่นของจีนถูกปรับโรงสร้างใหม่และกลายเป็นบรรษัทเอกชน (Morrison, 4 January 2017, p. 28)
ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อบริษัทต่างชาติและปัญหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญายังคงเป็นปัญหาเรื้อรัง
ในความสัมพันธ์สหรัฐ ฯ และจีน คณะรัฐมนตรีจีน (China’s State Council) ได้เผยแพร่แผนพัฒนานวัตกรรม
215