Page 91 - thaipaat_Stou_2563
P. 91
งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓
นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบพฤติกรรมร่วมของกลุ่มผู้ซื้อที่แสดงออกถึงความภูมิในในการซื้อหวย
ู
เช่น การพดคุยในกลุ่มคนรู้จักกันว่าใครซื้อหวยจ านวนมากและถูกรางวัลบ่อยครั้ง กล่าวคือ กลุ่มผู้
ู
ซื้อมักมีพฤติกรรมการพดคุย การถามไถ่กันและกันในกลุ่มผู้ซื้อด้วยกันว่าถูกรางวัลหรือไม่ หรือ “ได้-เสีย กี่
บาท?” บ่อยครั้งที่ผู้ซื้อบางส่วนจะกล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า “...รอบเช้าเสียไปเกือบพน...” (สัมภาษณ์
ั
นางสาวเดือน (นามสมมติ) เมื่อ 28 สิงหาคม 2562) สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการเป็นที่ยอมรับและได้รับ
ความสนใจจากกลุ่มคนเล่นหวยคนอื่น
(2) ผู้ขาย หรือ “คนจดหวย” การเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ผู้เขียนเริ่มจากการสอบถามถึงเหตุผลใน
การประกอบอาชีพคนจดหวยจากคนจดหวยรายหนึ่ง พบว่าก่อนธุรกิจหวยปิงปองจะเกิดขึ้น นายโท (นาม
สมมติ) (สัมภาษณ์ เมื่อ 10 สิงหาคม 2562) ประกอบอาชีพค้าขายซึ่งมีรายได้ไม่มากนัก แต่ภายหลังเข้ามีรับ
ี
จดหวยให้แก่เจ้ามือท าให้มีรายได้เพมขึ้นอย่างมาก จึงตัดสินใจเลิกค้าขายแล้วรับจดหวยเพยงอย่างเดียว
ิ่
เช่นเดียวกันกับนายตรี (นามสมมติ) (สัมภาษณ์ เมื่อ 13 สิงหาคม 2562) เดิมทีประกอบอาชีพคนขับรถตู้
โดยสาร ภายหลังมีญาติผู้ใหญ่แนะน าให้รู้จักกับเจ้ามือจึงได้จดหวยท าให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น
จากที่กล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าหวยปิงปองท าให้คนจดหวยมีรายได้เพมมากขึ้นพร้อมกับมีชั่วโมง
ิ่
การท างานที่น้อยลง คนที่มีโอกาสได้เข้ามาในธุรกิจหวยปิงปองจึงตัดสินใจเลิกกิจการที่ตนเคยท า ยิ่งไปกว่านั้น
ิ่
หากคนจดหวยเป็นที่รู้จักในชุมชนจะสามารถเพมยอดขายได้มากยิ่งขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อรายได้ที่มากขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้ ประเด็นการกระตุ้นยอดขายนี้ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจไม่แพกัน กล่าวคือ จากการสัมภาษณ์และ
้
การสังเกตจะพบว่าคนจดหวยมีพฤติกรรมการท านายเลข หรือ “บอกเลข” ที่ตนคาดว่าจะออกรางวัลในรอบ
ต่อไปให้กับกลุ่มผู้ซื้อ (สัมภาษณ์นางวี (นามสมมติ) เมื่อ 4 กันยายน 2562)
ยิ่งไปกว่านั้น ในกลุ่มครอบครัวของเจ้ามือ ได้สร้างความสัมพนธ์กันชุมชนผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ
ั
เช่น การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ หรือการเข้าร่วมกิจกรรมในงานส าคัญในคนในกลุ่ม เช่น งานสังสรรค์ประจ าปี การ
ให้ความช่วยเหลือภายในงานบุญและงานศพ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้เกิดมุมมองที่ดีต่อกันระหว่าง
กันในกลุ่มธุรกิจ
สรุปได้ว่ากลุ่มผู้ซื้อและผู้ขายมีความเชื่อในเรื่องความเชื่อโชคลางเช่นเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มผู้ซื้อ
และผู้ขายมีพฤติกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจหวยปิงปองขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากการมีทัศนคติที่
ดีต่อการซื้อหวยเช่นเดียวกัน เพราะมองว่าหวยเป็นแหล่งรายได้อีกแหล่งหนึ่ง โดยจะไม่ได้ค านวณก าไร-ขาดทุน
ู
จากการลงทุน ยิ่งไปกว่านั้น พฤติกรรมการพดคุยกันกลุ่มผู้ซื้อที่มักถามไถ่ซึ่งกันและกัน รวมถึงการบอกเล่าให้
ผู้อนได้ทราบถึงยอดการซื้อหวยด้วยความภาคภูมิใจได้ส่งผลให้ผู้ซื้อบางส่วนมีหนี้สินผูกพนซึ่งจะกล่าวใน
ั
ื่
ประเด็นต่อไป
ประเด็นที่สาม ปัญหาหนี้สินที่เกิดจากการซื้อขายหวยปิงปอง การซื้อขายหวยปิงปองได้ก่อให้เกิด
ื่
ปัญหาหนี้สินตามมาเช่นเดียวกับพฤติกรรมการเล่นการพนันในรูปแบบอนๆ จากการสัมภาษณ์นายเอก (คนจด
หวย) (สัมภาษณ์นายเอก (นามสมมติ) เมื่อ 8 สิงหาคม 2562) สรุปได้ว่าจากประสบการณ์มีลูกค้าหลายคนที่
มักจะขอซื้อหวยก่อน แต่ยังไม่ช าระเงิน กล่าวคือ กรณีลูกค้าไม่ถูกหวย เมื่อลูกค้าไม่ช าระเงิน แต่ด้วยความ
ี
ต้องการยอดขาย ท าให้คนจดหวยต้องรับซื้อ แต่จะไม่ส่งมอบ “ใบเหลือง” ให้จนกว่าจะมการช าระเงิน ถ้าผู้ซื้อ
ถูกรางวัลคนจดหวยจะหักเงินที่ติดค้างก่อนจะมอบส่วนที่เหลือให้กับผู้ซื้อ ในทางตรงกันข้าม หากลูกค้าไม่ถูก
รางวัลอาจมีพฤติกรรมหลีกเลี้ยงไม่ยอมจ่าย ซึ่งจากการสัมภาษณ์นายโท (นามสมมติ) (สัมภาษณ์เมื่อ 10
สิงหาคม 2562) พบว่ามีประสบการณ์ให้ลูกค้าติดค้างเงินมากกว่า 1 หมื่นบาท และไม่สามารถเรียกเก็บคืนได้
ท าให้ตนต้องรับใช้ให้กับเจ้ามือแทน
89