Page 93 - thaipaat_Stou_2563
P. 93

งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓



                                                                  ื่
               ตนเอง ในทางกลับกันลูกค้าสามารถเลือกซื้อกับคนจดหวยอนๆ ตามความต้องการ และเหตุผลส่วนตัว อาทิ
               ความรวดเร็วในการจ่ายเงินเมื่อลูกค้าถูกรางวัล โชคลาง และความรวดเร็วในการจ่ายเงินเมื่อถูกรางวัล

                       ประเด็นโครงสร้างธุรกิจหวยปิงปองมีบางประเด็นที่ไม่สอดคล้องกับการศึกษาของผาสุก พงษ์ไพจิตร
               และคณะ (2543, น.156-163) กล่าวคือ การศึกษาของผาสุกและคณะ พบว่าโครงสร้างธุรกิจ “หวยใต้ดิน”
               มีการจัดองค์กรเป็นชั้นปีรามิด โดยมี “เจ้ามือใหญ่” อยู่ยอดบนสุดของปีรามิด ถัดมาเป็นเจ้ามือย่อย (ยี่ปั๊ว)
               ผู้ขาย (กั๊ก) และคนขายทั่วไปแต่ในการศึกษาโครงสร้างธุรกิจ “หวยปิงปอง” จะมีการด าเนินงานเป็นแบบ

               เครือข่าย โดยมีเจ้ามือเป็นจุดศูนย์กลาง และกระจายหน้าที่กันออกไปให้กับคนจดหวยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม
               ความแตกต่างของทั้งสองโครงสร้างธุรกิจนั้นอาจเป็นผลมาจากขนาดของธุรกิจ กล่าวคือ “ธุรกิจหวยใต้ดิน” จะ
               มีขนาดใหญ่ มีแหล่งเงินทุนและบุคลากรจ านวนมาก และอาจมีเครือข่ายกว้างขวางในระดับจังหวัด ส่วน
               “ธุรกิจหวยปิงปอง” มีขนาดเล็กเพียงระดับหมู่บ้านเท่านั้น

                       นอกจากนี้ ประเด็นการมีบทบาททางการเมืองท้องถิ่นของผู้ควบคุมธุรกิจหวยใต้ดินนั้น จากศึกษาของ
               ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคณะ (2543, น.156-163) พบว่าเจ้ามือใหญ่อาจมีบทบาททางการเมือง ในทาง
               ตรงกันข้ามการศึกษาโครงสร้างธุรกิจหวยปิงปองในหมู่บ้านแห่งความหวัง เจ้ามือจะไม่ได้มีบทบาททาง
               การเมืองในระดับท้องถิ่น

                       อย่างไรก็ดี การด าเนินธุรกิจ “หวยใต้ดิน” กับ “หวยปิงปอง” ยังมีความสอดคล้องกันในเรื่องการ
               เจรจาผลประโยชน์กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของนพนันท์ วรรณเทพสกุล (2554, น.6-
               7) ที่กล่าวถึงเจ้าหน้าที่รัฐบาลส่วนที่ได้รับผลประโยชน์จากการด าเนินธุรกิจเนื่องจากมีบทบาทในการบังคับใช้

               กฎหมาย
                       ประเด็นที่สอง ทัศนคติของผู้ซื้อที่มีต่อการซื้อหวย
                       ผู้ซื้อและผู้ขายมีทัศนคติที่ดีต่อการซื้อขายหวยปิงปอง กล่าวคือ ทั้งสองกลุ่มมองว่าหวยปิงปอง
               เปรียบเสมือนความหวังในการสร้างรายได้ที่อกแหล่งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม “คนจดหวย” ที่มีโอกาสเข้า
                                                    ี
               มาอยู่ในเครือข่ายธุรกิจหวยปิงปองแล้วตัดสินใจเลิกประกอบอาชีพเดิมของตนเพราะมีรายได้สูงและท างาน

               น้อย ขณะเดียวกัน กลุ่มลูกค้าหลักในธุรกิจหวยปิงปอง ประกอบด้วย พ่อค้า-แม่ค้า วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง และ
               ผู้สูงอายุ ต่างมีทัศนคติที่ดีต่อการซื้อหวยเช่นเดียวกัน
                       ประเด็นการมีทัศนคติที่ดีต่อการซื้อขายหวยนี้สอดคล้องกบการศึกษาของปิยวรรณ กองแก้ว (2542,
                                                                      ั
               หน้า 126-128) ที่พบว่าการซื้อหวยได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ขาดโอกาสในการ
               แสวงหารายได้อย่างเพยงพอ ท าให้การเสี่ยงโชคจึงเป็นเสมือนหนทางและความหวังที่จะร่ ารวย ขณะเดียวกัน
                                  ี
                                                            ื่
               กลุ่มผู้ซื้อหวยปิงปองนิยมการเล่นการพนันในรูปแบบอนๆ ด้วย ดังเช่นสลากกินแบ่งรัฐาลและหวยใต้ดิน จึงมี
               ความเสี่ยงที่จะต้องประสบปัญหาอนเกิดจากการเล่นการพนันไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดเงินใช้จ่ายใน
                                              ั
               ชีวิตประจ าวัน ความเครียด และหนี้สิน
                       ประเด็นที่สาม ความเชื่อโชคลางและพฤติกรรมการซื้อขายหวยปิงปอง
                       พฤติกรรมการซื้อขายหวยปิงปองของผู้ซื้อและผู้ขายที่ปรากฎออกมานั้นเป็นผลมาจากความเชื่อ
                 ื้
               พนฐานของผู้ซื้อ จากการศึกษาพบว่าการตัดสินใจเลือกหมายเลขที่จะซื้อหวยปิงปองนั้นมาจากความเชื่อด้าน
               โชคลาง (superstition belief) โดยการเลือกซื้อเลขนั้นบ่อยครั้งมีที่มาจากการวิเคราะห์ความฝัน การท านายเลข
               จากเหตุการณ์ในชีวิตประจ าวัน อาทิ เลขท้ายของบัตรบิลเงินสด ใบแจ้งหนี้ ป้ายทะเบียนรถ ฯลฯ
                                                                                      ู
                       ประเด็นความเชื่อด้านโชคลางดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาของธีรนุช พศักดิ์ศรีกิจ และศิวฤทธิ์
               พงศ์กรรังศิลป์ (2557) ที่ได้ศึกษาบทบาทของความเชื่อในเรื่องโชคลางที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสลากกิน

               แบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดิน กล่าวคือ กลุ่มผู้ซื้อจะอาศัยโชคลางมาใช้ในการจัดการกับความไม่แน่นอนจากการ

                                                                                                       91
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98