Page 13 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 13
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
ตารางที่ 1: ส่วนสําคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหาในการวิจัยเชิงคุณภาพ
คํา ความหมาย
การย่อ การย่อ (condensation) เป็นกระบวนการในการย่อข้อความให้สั้นลงในขณะที่
(condensation) ยังคงรักษาความหมายหลักไว้
รหัส (code) รหัส (code) เป็นฉลาก หรือ ชื่อ ที่สามารถอธิบายความหมายได้ชัดเจนที่สุดว่าใน
หน่วยความหมายย่อ (condensed meaning units) นั้นหมายความว่าอย่างไร
ตามปกติจะมีความยาวเพียงหนึ่งหรือสองคํา
หัวข้อเรื่อง (category) หัวข้อเรื่อง (category) เป็นการนําเอารหัสหลายรหัสที่มี ความสัมพันธ์กันในด้าน
เนื้อหาหรือบริบทมารวมเป็นกลุ่มเดียวกันแล้วตั้งชื่อขึ้นมา ใหม่เป็นหัวข้อเรื่อง
หัวข้อเรื่องจะตอบคําถามเกี่ยวกับ ใคร? อะไร? ที่ไหน? หรือ เมื่อไร?
หัวข้อเรื่องหลัก หัวข้อเรื่องหลัก (theme) เป็นการนําเอา หัวข้อเรื่อง ที่มีความหมายพื้นฐาน
(theme) (underlying meaning) เช่น ความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในตั้งแต่สองหัวข้อ
เรื่องขึ้นไปมารวมไว้อยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วตั้งชื่อใหม่ขึ้นมาเป็นหัวข้อเรื่องหลัก
หัวข้อเรื่องหลักจะตอบคําถามเกี่ยวกับ ทําไม? อย่างไร? ในทิศทางใด? หรือ โดย
วิธีการใด?
ที่มา: แปลและดัดแปลงจาก Erlingsson & Brysiewicz, 2017, p. 94; (จําเนียร จวงตระกูล และ นวัสนันท์
วงศ์ประสิทธิ์, 2562, หน้า 5.)
จากตารางที่ 1 จะเห็นว่า การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการนําเอาเนื้อหาของสาร
หรือข้อมูลมาทําการวิเคราะห์ โดยเริ่มต้นจากการกําหนดการย่อ สาระสําคัญของสาร ส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น คํา
วลี ประโยค หรือย่อหน้า เป็นต้น เพื่อใช้เป็นฐานในการกําหนดรหัส และนําไปสู่การกําหนดประเภทหรือกลุ่ม
ของรหัสอันถือได้ว่าเป็นหัวข้อเรื่อง ซึ่งเป็นส่วนประกอบของหัวข้อเรื่องหลัก ที่ถือว่าเป็นผลของการวิเคราะห์
ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิเคราะห์เนื้อหาตามรูปแบบวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
การวิเคราะห์เนื้อหาตามรูปแบบวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายรูปแบบ แต่ใน
ที่นี้จะแบ่งออกเป็นสามแนวทางตามการแบ่งของ Hsieh & Shannon (2005) ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาแบบ
ดั้งเดิม (conventional content analysis) การวิเคราะห์เนื้อหาแบบกําหนดทิศทางล่วงหน้า (directed
content analysis) และ การวิเคราะห์เนื้อหาแบบสรุปความ (summative content analysis) การวิเคราะห์
เนื้อหาแบบดั้งเดิมเป็นวิธีการวิเคราะห์โดยการกําหนดรหัสจากเนื้อหาของข้อมูล (Hsieh & Shannon, 2005)
เป็นวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้กับการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ยุทธศาสตร์การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎี (grounded
theory) แต่ก็สามารถนําไปใช้ได้โดยทั่วไป วิธีการนี้ใช้ในกรณีที่ยังไม่มีทฤษฎีที่จะใช้เป็นฐานในการกําหนดรหัส
ล่วงหน้าได้ ลําดับต่อมาคือการวิเคราะห์เนื้อหาแบบกําหนดทิศทางล่วงหน้า เป็นวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในกรณี
4 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย