Page 17 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 17
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
เช่น อาจนําเสนอเป็นตัวเลข เป็นช่วง เป็นกลุ่ม หรือ ความถี่ เป็นต้น (5) การนําเสนอโดยใช้ทฤษฎีนําทาง
(theory-guided) การนําเสนอตามแนวทางนี้เป็นการจัดเรียงข้อมูลตามทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการอย่างใดอย่าง
หนึ่งที่นักวิจัยทําการศึกษาวิธีการนี้นิยมใช้มากในการวิจัยในการรักษาทางการแพทย์ (6) การนําเสนอโดยการ
บรรยายด้วยตรรกะ (narrative logic) การนําเสนอตามแนวทางนี้เป็นการจัดเรียงข้อมูลที่เป็นแบบการเล่า
เรื่องให้มองเห็นภาพตามเรื่องราวที่ประสงค์จะนําเสนอ (7) การนําเสนอจากสิ่งที่สําคัญที่สุดไปสู่สิ่งที่สําคัญน้อย
ที่สุดหรือจากเรื่องใหญ่ไปสู่เรื่องเล็ก (most important to least important or from major to minor)
การนําเสนอในรูปแบบนี้เป็นการนําเสนอว่าเรื่องใดมีความสําคัญมากที่สุดหรือเป็นเรื่องใหญ่มากที่สุดแล้ว
เชื่อมโยงไปสู่เรื่องที่มีความสําคัญน้อยที่สุดหรือเรื่องเล็กที่สุด (8) การนําเสนอแบบดราม่า (dramatic
presentation) การนําเสนอแบบนี้เป็นการนําเสนอเรื่องที่เป็นเรื่องร้ายแรงก่อนเพื่อไม่ให้เกิดความประหลาด
ใจหรือสิ่งที่อาจคาดการณ์ไม่ถึงได้ในตอนสุดท้าย (9) การนําเสนอแบบตามสะดวก (no particular order)
เป็นวิธีการนําเสนอตามความสะดวกของนักวิจัยซึ่งอาจจะไม่มีรูปแบบหรือขั้นตอนการนําเสนอตามแบบอย่าง
ต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น
การนําเสนอข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพทั้ง 9 แบบที่ได้นําเสนอมานั้นนักวิจัยสามารถนําไปพิจารณา
เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมตามลักษณะของโครงการวิจัยของตนทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านและผู้ให้ทุนสนับสนุนการ
วิจัยหรือผู้ว่าจ้างให้ทําการวิจัยเกิดความเข้าใจได้รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น
ข้อควรคํานึงในการนําเสนอและการแสดงข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ
ในการนําเสนอและการแสดงข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นนักวิจัยมีสิ่งที่จะต้องคํานึงถึงอย่างน้อยที่สุด
สองด้านคือ ประเด็นจรรยาบรรณวิชาชีพนักวิจัย (ethical issues) กับ ประเด็นความน่าเชื่อถือของงานวิจัย
เชิงคุณภาพ (rigor or trustworthiness issues) ในประเด็นจรรยาบรรณวิชาชีพนักวิจัยนั้นนักวิจัยจะต้อง
คํานึงถึงเรื่องการรักษาความลับและการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลหลัก (confidentiality) และประเด็นอื่นๆ โดย
จะต้องนําเสนอและแสดงข้อมูลโดยไม่เปิดเผยชื่อและข้อมูลใดๆ ของผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informant) หรือ
กระทําด้วยประการใดๆ ที่อาจทําให้ผู้อ่านสามารถระบุตัวผู้ให้ข้อมูลหลักได้ เป็นต้น ส่วนในประเด็นความ
น่าเชื่อถือของงานวิจัยเชิงคุณภาพนั้นนักวิจัยจะต้องระบุมาตรการในการสร้างควาน่าเชื่อถือของงานวิจัยเชิง
คุณภาพเพื่อให้ผู้อ่านได้มั่นใจว่าข้อมูลที่นําเสนอและแสดงนี้มีความเชื่อถือได้ เช่น การตรวจสอบรอบทิศ
(triangulation) ในประเด็นต่างๆ การตรวจสอบข้อมูลโดยผู้ให้ข้อมูลหลัก (member check) หรือการ
จัดระบบการตรวจสอบงานวิจัย (audit trail) เป็นต้น (จําเนียร จวงตระกูล, 2563)
8 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย