Page 16 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 16
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
จากตารางที่ 3 จะเห็นว่ารูปแบบของการนําเสนอและการแสดงข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นมีให้
เลือกใช้ได้หลากหลายรูปแบบโดยแต่ละแบบก็มีวัตถุประสงค์หรือคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไปซึ่งนักวิจัย
สามารถเลือกใช้ได้ตามที่มีความเหมาะสมกับโครงการวิจัยของตน
จากการศึกษาของ Verdinelli & Scagnoli (2013) พบว่ารูปแบบการนําเสนอและแสดงข้อมูลการ
วิจัยเชิงคุณภาพที่ได้รับความนิยมมากที่สุดห้าอันดับแรก ได้แก่ แบบแมทริกซ์ เป็นที่นิยมใช้มากที่เป็นอันดับ
แรก มีผู้ใช้ร้อยละ 60.2 อันดับสอง คือแบบเครือข่าย มีผู้ใช้ร้อยละ 48 อันดับสาม คือแบบผังการไหลของงาน
มีผู้ใช้ร้อยละ 35 อันดับสี่ คือแบบกล่อง มีผู้ใช้ร้อยละ 29 อันดับห้า คือแบบปรับปรุงไดอะแกรมของเว็น มีผู้ใช้
ร้อยละ 17 สําหรับตัวอย่างการนําเสนอการแสดงที่เป็นภาพของแต่ละรูปแบบนั้นสามารถศึกษาได้จาก
Verdinelli & Scagnoli (2013)
นอกจากรูปแบบการนําเสนอหรือการแสดงข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพทั้ง 9 แบบดังกล่าวมาแล้วนั้น
ยังมีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้คือแบบที่ราชบัณฑิตสถานได้บัญญัติศัพท์เฉพาะว่า “บรรณพิลาส” ซึ่งแปลมา
จากคําภาษาอังกฤษว่า “Vignette” มีลักษณะคล้ายการนําเสนอแบบกล่อง (Marshall & Rossman, 1999;
Reay, Zafar, Monteiro, & Glaser, 2019)
กลยุทธ์การนําเสนอและการแสดงข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ
กลยุทธ์หรือวิธีการนําเสนอหรือลําดับการแสดงข้อมูลนั้นทําได้หลายแบบ เช่น การนําเสนอแบบจาก
ง่ายไปหายาก หรือแบบเรียงลําดับวัน เดือน ปี เป็นต้น ในที่นี้จะนําเสนอกลยุทธ์ 9 ประการที่นําเสนอโดย
Chenail (1995) ซึ่งได้เสนอแนะกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการนําเสนอข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพไว้ 9 ประการ
ดังต่อไปนี้ (1) การนําเสนอโดยยึดถือความเป็นธรรมชาติเป็นหลัก (natural) กล่าวคือนําเสนอตาม
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามสภาพเป็นจริงตามธรรมชาติ เช่น การนําเสนอในรูปแบบของกระบวนการแบบเป็น
ขั้นเป็นตอนตั้งแต่ต้นจนจบปรากฏการณ์นั้น (2) การนําเสนอจากสิ่งที่ง่ายที่สุดไปสู่สิ่งที่ยากที่สุด (most
simple to most complex) เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายให้ใช้วิธีการนําเสนอจากสิ่งที่ง่ายที่สุดไปสู่สิ่งที่มี
ความยากหรือมีความซับซ้อนมากที่สุด การดําเนินการเช่นนี้จะทําให้ผู้อ่านสามารถติดตามได้ง่ายขึ้นและ
สะดวกขึ้น (3) การนําเสนอจากสิ่งที่ค้นพบก่อนไปสู่สิ่งที่ค้นพบทีหลัง (first discovered/constructed to
last discovered/constructed) วิธีการนี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้นเนื่องจากได้มองเห็นภาพที่เป็น
การนําเสนอที่เป็นกระบวนการและขั้นตอนที่ต่อเนื่องกันไป (4) การนําเสนอในรูปแบบเชิงปริมาณ
(quantitative-informed) การนําเสนอแบบนี้ใช้วิธีการของการวิจัยเชิงปริมาณซึ่งในบางกรณีจะสามารถทําได้
7 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย