Page 18 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 18
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
สรุปและเสนอแนะ
บทสรุป
จากการศึกษาในบทความนี้สรุปได้ว่าข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลที่เป็นข้อความอธิบายสิ่งของ
หรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นข้อมูลที่มักจะไม่แสดงเป็นตัวเลขเชิงปริมาณ โดยได้มาจากการเก็บ
รวบรวมมาโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต เอกสารหลักฐานต่าง ๆ โสตทัศนูปกรณ์ ต่าง ๆ
รวมทั้งข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ประเภทต่าง ๆ เป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์
เนื้อหาโดยการ ลงรหัส จัดประเภทข้อมูลและกําหนดประเด็นหัวข้อเรื่องหลัก โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
สามรูปแบบใหญ่ๆ คือ แบบดั้งเดิม แบบกําหนดทิศทางล่วงหน้า และแบบสรุปความ โดยนําไปวิเคราะห์ต่อตาม
รูปแบบของแต่ละยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพตามที่ได้จัดแบ่งไว้ ส่วนการนําเสนอและการแสดงข้อมูลนั้นมี
การใช้รูปแบบต่าง ๆ รวม 9 รูปแบบ ทั้งนี้รูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดสามอันดับแรกคือ คือแบบแมทริกซ์
เป็นที่นิยมใช้เป็นอันดับแรก อันดับสองคือแบบเครือข่าย และอันดับสามคือแบบผังการไหลของงาน กลยุทธที่
ใช้ในการนําเสนอและแสดงข้อมูลนั้นสรุปได้ว่ามี 9 วิธีการซึ่งนักวิจัยสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับ
โครงการวิจัยของตน นอกจากนี้นักวิจัยยังจะต้องคํานึงถึงประเด็นจรรยาบรรณวิชาชีพนักวิจัย และ ประเด็น
ความน่าเชื่อถือของงานวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย
ข้อเสนอแนะ
การนําเสนอและการแสดงข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นกิจกรรมที่สําคัญอย่างหนึ่งซึ่งมีความ
หลากหลายทั้งรูปแบบและกลยุทธ์ในการนําเสนอและการแสดง เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการ
นําเสนอรายงานวิจัยเชิงคุณภาพแต่ละโครงการนักวิจัยควรพิจารณาเลือกใช้รูปแบบและกลยุทธ์ในการนําเสนอ
และการแสดงข้อมูลให้เหมาะสมกับโครงการวิจัยเชิงคุณภาพของตน ทั้งนึ้โดยคํานึงถึงการออกแบบการวิจัย
เริ่มตั้งแต่การเลือกกระบวนทัศน์การวิจัยและยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพที่นักวิจัยเลือกใช้ในการดําเนิน
โครงการวิจัยเชิงคุณภาพของตน นอกจากนี้นักวิจัยยังจะต้องใช้มาตรการต่างๆ ทางด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ
นักวิจัยและด้านความน่าเชื่อถือของงานวิจัยเชิงคุณภาพประกอบการนําเสนอและการแสดงข้อมูลด้วย
9 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย