Page 24 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 24
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
บ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะ
ยอมรับผลจากการกระทําของตน
5. หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจํากัด ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
6. หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม สํานึกในหน้าที่ของตนเอง มีความซื่อสัตย์
สุจริต จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย และเคารพในสิทธิของผู้อื่น
หลักธรรมาภิบาลได้ถูกนํามาใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงานในหลายภาคส่วนโดยเฉพาะภาครัฐ และ
หนึ่งในองค์กรภาครัฐที่ได้นําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการดําเนินงานคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่
ในการปกครองท้องถิ่น จัดทําบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นในพื้นที่รับผิดชอบ การปกครอง
ท้องถิ่น (Local Government) เป็นรูปแบบหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีความสําคัญต่อ
การพัฒนาการเมืองการปกครองในระดับพื้นฐานของประเทศ การปกครองท้องถิ่นที่ปกครองโดยองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เกิดขึ้นเพื่อลดปัญหาและข้อจํากัดในการบริหารงานของรัฐบาลส่วนกลาง ที่ไม่
สามารถดูแลประชาชนทั้งประเทศได้ทั่วถึง การปกครองท้องถิ่นยังมีความสําคัญในฐานะเป็นกลไกในการ
กระจายทรัพยากรการพัฒนาของรัฐไปสู่ชนบทได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จะมีการกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่และมีอํานาจในการบริหารจัดการตนเอง ผู้บริหารท้องถิ่นจึงจะต้องมีความรู้
ความสามารถในการบริหารงานของท้องถิ่นให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วยังจะต้อง
เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม และดําเนินการบริหารท้องถิ่นโดยมีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นเครื่องกํากับด้วย
การบริหารท้องถิ่นจึงจะก่อเกิดประโยชน์สุขแก่ชุมชนและประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง ดังนั้นการบริหาร
จัดการตามหลักธรรมาภิบาลของปกครองส่วนท้องถิ่นจึงมีความสําคัญ เพราะในด้านการปกครองท้องถิ่นถือว่า
เป็นกลไกทางการปกครองที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาในระดับพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอํานาจ
ทั่วไปในการดูแลและจัดทําบริการสาธารณะ การเงินการคลัง การบริหารงานบุคคล ซึ่งมีอํานาจโดยเฉพาะ โดย
คํานึงถึงความสอดคล้องกับการพัฒนาของจังหวัดและประเทศ ดังนั้นในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งหลักธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการ
ที่ดี เป็นหลักการบริหารในการปกครองประเทศให้เกิดความสงบสุขโดยยึดหลักพื้นฐาน 6 ประการ ที่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้ความสําคัญและนําไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอันได้แก่
หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า
ซึ่งพื้นที่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ก็มีความเหมือนและแตกต่างกันออกไป
พื้นที่เขตอําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกสุดของจังหวัดสงขลา ติดต่อกับอําเภอ
ควนโดน จังหวัดสตูล เป็นอําเภอที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ อําเภอรัตภูมิมีพื้นที่ประมาณ 517.69
ตารางกิโลเมตร มี 5 ตําบล คือ ตําบลกําแพงเพชร ตําบลควนรู ตําบลคูหาใต้ ตําบลท่าชะมวง และตําบลเขา
พระ มีประชากรทั้งหมดประมาณ 60,327 คน ท้องที่อําเภอรัตภูมิประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7
แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองกําแพงเพชร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตําบลกําแพงเพชร เทศบาลตําบล
กําแพงเพชร ครอบคลุมพื้นที่ตําบลกําแพงเพชร (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองกําแพงเพชร) เทศบาลตําบลนาสี
ทอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตําบลเขาพระ เทศบาลตําบลคูหาใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตําบลคูหาใต้ทั้งตําบล
องค์การบริหารส่วนตําบลท่าชะมวง ครอบคลุมพื้นที่ตําบลท่าชะมวงทั้งตําบล องค์การบริหารส่วนตําบลควนรู
ครอบคลุมพื้นที่ตําบลควนรูทั้งตําบล และองค์การบริหารส่วนตําบลเขาพระ ครอบคลุมพื้นที่ตําบลเขาพระ
(เฉพาะนอกเขตเทศบาลตําบลนาสีทอง) จะเห็นได้ว่าพื้นที่อําเภอรัตภูมิมีองค์การบริหารส่วนตําบลทั้งหมด
3 แห่ง ซึ่งองค์การบริหารส่วนตําบลทั้ง 3 แห่งที่มีภารกิจหลักคือ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
15 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย