Page 23 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 23

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020

                                                            บทนํา


                          ธรรมาภิบาลจัดเป็นแนวคิดที่สําคัญในการบริหารงานและการปกครอง ในปัจจุบัน แนวคิดธรรมาภิ
                    บาลได้ถูกนํามาใช้อย่างแพร่หลายตั้งแต่ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 เป็น
                    ต้นมา ทั้งนี้ในหนังสือแสดงเจตจํานงกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุให้รัฐบาลไทยนั้น
                    จะต้องสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) ให้เกิดขึ้นในการบริหารจัดการภาครัฐ แนวทางธรรมาภิบาล
                    จึงได้ถูกนํามาใช้เพื่อการดําเนินการและแก้ปัญหาในการบริหารจัดการองค์กร และปรับปรุงประสิทธิภาพต่างๆ
                    ในการบริหาร ซึ่งจะอยู่ภายใต้กรอบแนวคิดด้านธรรมาภิบาล

                           ธรรมาภิบาลหรือการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทางสําคัญในการดําเนินการจัด
                    ระเบียบให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่าย
                    ราชการ และฝ่ายธุรกิจ ให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลัง ก่อให้เกิด
                    การพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ เพื่อบรรเทาป้องกัน
                    หรือแก้ไขเยียวยาในภาวะวิกฤติภยันตรายที่หากจะมีมาในอนาคต เพราะสังคมจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความมี
                    ส่วนร่วม และความโปร่งใส อันเป็นคุณลักษณะสําคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
                    ทรงเป็นพระประมุข สอดคล้องกับความเป็นไทยรัฐธรรมนูญ และกระแสโลกยุคปัจจุบันการบริหารจัดการที่ดี
                    คือหลักการบริหารที่มุ่งเน้นหลักการทํางาน ซึ่งหากมีการนํามาใช้เพื่อการบริหารงานแล้ว จะก่อให้เกิดความ
                    เชื่อมั่นว่าจะนํามาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งปัจจุบันการบริหารงานในภาครัฐนั้นได้รับความสนใจอย่างมากจาก

                    ประชาชน ในเรื่องของความโปร่งใสในการดําเนินงาน ดังนั้นการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในหน่วยงานภาครัฐ
                    ก็เพื่อที่จะให้ประชาชนได้เกิดความเชื่อถือศรัทธาว่าปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นของหน่วยงาน
                    ภาครัฐจะลดลง ซึ่งสิ่งที่จําเป็นในการบริหารงานของหน่วยงานในภาครัฐ ได้แก่ ภาระรับผิดชอบ
                    (Accountability) ความโปร่งใส (Transparency) การปราบปรามการทุจริตและการประพฤติมิชอบ (Anti-
                    Corruption) การสร้างการมีส่วนร่วม (Participation) การสร้างกรอบทางกฎหมายกระบวนการยุติธรรม
                    (The Rule of Law) การตอบสนองที่ทันการ (Responsiveness) ความเห็นชอบร่วมกัน (Consensus
                    Oriented) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) ความเสมอภาค (Equity) ซึ่งหลัก

                    พื้นฐานของการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีมี 6 ประการ ได้แก่
                          1. หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับ
                    ของสังคม ไม่เลือกปฏิบัติ และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่า
                    เป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย
                          2. หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยมีการให้และการรับข้อมูลที่
                    สะดวกเป็นจริง ทันการณ์ ตรงไปตรงมา มีที่มาที่ไปที่ชัดเจนและเท่าเทียม และมีกระบวนการตรวจสอบความ
                    ถูกต้องชัดเจนได้
                          3. หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมคิด ร่วมเสนอ

                    ความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสําคัญของประเทศในด้านต่างๆ เช่น การแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ
                    การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการร่วมตรวจสอบ และร่วมรับผิดชอบต่อผล
                    ของการกระทํานั้น
                          4. หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ ได้แก่ ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เป็นการสร้างกลไกให้มี
                    ผู้รับผิดชอบ ตระหนักในหน้าที่ ความสํานึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของ



                                                        14                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28