Page 28 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 28

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020

                    1. ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม

                          ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จํานวน 209 คน คิดเป็นร้อยละ 53.7 รองลงมา คือ เพศ
                    ชาย จํานวน 180 คน คิดเป็นร้อยละ 46.3 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี จํานวน 140
                    คน คิดเป็นร้อยละ 36.0 รองลงมา คือ อายุ 51 ปีขึ้นไป จํานวน 138 คน คิดเป็นร้อยละ 35.5 รองลงมา คือ
                    อายุระหว่าง 31-40 ปี จํานวน 106 คน คิดเป็นร้อยละ 27.2 และน้อยที่สุด คือ ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ
                    ระหว่าง 20-30 ปี จํานวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.3 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา
                    มัธยมศึกษา/ปวช. จํานวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 32.1 รองลงมา คือ ประถมศึกษา จํานวน 118 คน คิดเป็น
                    ร้อยละ 30.3 รองลงมา คือ ปวส./ปริญญาตรี จํานวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 28.5 และน้อยที่สุด คือ ระดับ

                    ปริญญาตรีขึ้นไป จํานวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 9.0 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร
                    จํานวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 30.8 รองลงมา คือ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว จํานวน 119 คน คิดเป็นร้อยละ
                    30.6 รองลงมา คือ พนักงานบริษัท จํานวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 17.7 รองลงมา คือ รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ
                    จํานวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 12.9 รองลงมา คือ รับจ้างทั่วไป จํานวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 7.2 และน้อย
                    ที่สุดคือ อาชีพอื่นๆ เช่น แม่บ้าน จํานวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.8 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่นับถือศาสนา
                    อิสลาม จํานวน 364 คน คิดเป็นร้อยละ 93.6 รองลงมา คือ ศาสนาพุทธ จํานวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 6.4
                    ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเป็นเงิน 10,000-15,000 บาท จํานวน 138 คน คิดเป็น
                    ร้อยละ 35.5 รองลงมา คือ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-20,000 บาท จํานวน 131 คน คิดเป็นร้อยละ 33.7
                    รองลงมา คือ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ํากว่า 10,000 บาท จํานวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 23.1 และน้อยที่สุด

                    คือ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า  20,000 บาท จํานวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 7.7 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วน
                    ใหญ่ไม่เป็นสมาชิกชมรมหรือกลุ่มพัฒนาในพื้นที่ จํานวน 226 คน คิดเป็นร้อยละ 68.4 รองลงมา คือ เป็น
                    สมาชิก จํานวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 25.2 และน้อยสุด คือ เป็นกรรมการ จํานวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 6.4
                    ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดยองค์การบริหารส่วนตําบล  จํานวน 259 คน คิด
                    เป็นร้อยละ 66.6 และเคยเข้าร่วมกิจกรรม จํานวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ 33.4 ตามลําดับ
                    2. ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการดําเนินงานขององค์การ
                    บริหารส่วนตําบลท่าชะมวง อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล ทั้ง 6 องค์ประกอบ

                    ดังนี้
                          จากตางราง ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการดําเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6
                    องค์ประกอบ ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.40, S.D. = 0.11) เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของ
                    ประชาชนที่มีต่อผลการดําเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลในแต่ละด้าน พบว่า ธรรมาภิบาลด้านหลักนิติธรรมมี
                    ค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 3.63, S.D. = 0.06) เมื่อพิจารณาเป็นรายเรื่อง พบว่า เจ้าหน้าที่มีการปฏิบัติงานอย่าง
                    เคร่งครัด ไม่เลือกปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  (x̄ = 3.97) รองลงมา คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยความถูกต้อง เป็น

                    ที่ยอมรับของสังคม (x̄ = 3.89) และน้อยที่สุด คือ เจ้าหน้าที่มีการใช้กฎระเบียบข้อบังคับที่ทันสมัยและใช้
                    บังคับด้วยความเป็นธรรม (x̄ = 3.04) ธรรมาภิบาลที่มีค่าเฉลี่ยสูงรองลงมา คือ ธรรมาภิบาลด้านหลักความ
                    รับผิดชอบ (x̄ = 3.61, S.D. = 0.12) เมื่อพิจารณาเป็นรายเรื่อง พบว่า เจ้าหน้าที่มีความตั้งใจในการปฏิบัติ

                    หน้าที่ และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 3.91) รองลงมา คือ องค์การบริหารส่วน
                    ตําบล  มีการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยคํานึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ส่วนรวม (x̄ = 3.87) และน้อยที่สุด คือ
                    เจ้าหน้าที่ใส่ใจปัญหาของประชาชนและกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหา (x̄ = 3.05) ธรรมาภิบาลที่มีค่าเฉลี่ย
                    สูงรองลงมา คือ ธรรมาภิบาลด้านหลักความคุ้มค่า (x̄ = 3.56, S.D. = 0.17) เมื่อพิจารณาเป็นรายเรื่อง พบว่า


                                                        19                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33