Page 21 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 21
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
ความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบลท่าชะมวง
อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล
(Public Opinion regarding Work Performance upon Good Governance
Principle of the Thachamoung Sub-District Administrative Organization,
Rattaphum District, Songkhla Province)
ธัญญรัตน์ ทองขาว
5
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการดําเนินงานขององค์การ
บริหารส่วนตําบลท่าชะมวง ตามแนวทางหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักคุณธรรม หลักนิติ
ธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า และหลักความโปร่งใส และเปรียบเทียบความ
คิดเห็นของประชาชนต่อผลการดําเนินงานตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
เพศ อายุ ระดับการศึกษา ศาสนา อาชีพ รายได้ การเป็นสมาชิกชมรมหรือกลุ่มพัฒนาในพื้นที่ และการเข้าร่วม
กิจกรรมที่จัดโดยองค์การบริหารส่วนตําบล โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีภูมิลําเนาอยู่ใน
พื้นตําบลท่าชะมวง จํานวน 389 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ค่าทางสถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า t–test และค่า F-
test ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนมีระดับความคิดเห็นต่อผลการดําเนินงานของ องค์การบริหารส่วนตําบล
ท่าชะมวงตามแนวทางหลัก ธรรมาภิบาล ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ธรรมาภิบาลด้านหลักนิติธรรมมี
ค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ธรรมาภิบาลด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักการมีส่วน
ร่วม ด้านหลักคุณธรรม และด้านหลักความโปร่งใสตามลําดับ เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของ
ประชาชนต่อผลการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบล ท่าชะมวง จําแนกตามลักษณะส่วนบุคคล พบว่า
ประชาชนที่มี เพศ อาชีพ รายได้ ศาสนา การเป็นสมาชิกชมรมหรือกลุ่มพัฒนาในพื้นที่ และการเข้าร่วม
กิจกรรมที่จัดโดยองค์การบริหารส่วนตําบล ท่าชะมวงที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อผลการดําเนินงาน
ขององค์การบริหารส่วนตําบล ท่าชะมวงตามแนวทางหลักธรรมาภิบาลไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับ
สมมติฐานที่ตั้งไว้ และประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อผลการ
ดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบล ท่าชะมวงตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล แตกต่างกันอย่างมี
นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย ข้อเสนอแนะสําหรับองค์การบริหารส่วน
ตําบล ท่าชะมวงที่ควรปรับปรุง คือ ธรรมาภิบาลด้านหลักการมีส่วนร่วม หลักคุณธรรม และหลักความโปร่งใส
ซึ่งองค์การบริหารส่วนตําบล ท่าชะมวงควรมีการพัฒนาการสื่อสารโดยการใช้ช่องทางในการสื่อสารข้อมูล
ข่าวสารต่างๆ กับประชาชนให้เพิ่มขึ้น เช่น การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านทางแอพพลิเคชั่น ไลน์ เฟ
ซบุ๊ก โดยใช้รูปแบบที่น่าสนใจ เช่น การทําคลิปวิดิโอสั้นในการนําเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้ครอบคลุม
ประชาชนทุกกลุ่ม จะทําให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและมีโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น
5 นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
E-mail: tidaratthongkhaw@gmail.com
12 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย