Page 27 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 27
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
หลักความคุ้มค่า ตัวชี้วัด คือ หน่วยงานมีการประหยัด หน่วยงานมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หน่วยงานมีศักยภาพในการแข่งขัน (ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ, 2545 อ้างถึงใน สมศักด์ สามัคคีธรรม, 2561) 5.
หลักการมีส่วนร่วม ตัวชี้วัด คือ ความสัมฤทธิ์ผลของโครงการต่างๆ การประหยัดงบประมาณ ความพึงพอใจ
ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ได้รับผลกระทบ จํานวนผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นหรือจํานวนข้อเสนอแนะหรือ
ข้อคิดเห็นของประชาชน (บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และ บุญมี ลี้, 2546) 6. หลักคุณธรรม ตัวชี้วัด คือ
หน่วยงานปลอดคอร์รัปชั่น หน่วยงานปลอดจากการทําผิดวินัย หน่วยงานปลอดจากการทําผิดมาตรฐาน
วิชาชีพนิยมและจรรยาบรรณ (ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ, 2545 อ้างถึงใน สมศักด์ สามัคคีธรรม, 2561) สรุปได้
ว่าธรรมาภิบาลมีตัวชี้วัดของแต่ละองค์ประกอบของธรรมาภิบาลที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องมือใน
การวัดการบริหารจัดการที่ดีขององค์กร
วิธีดําเนินการวิจัย
ดําเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชน
ที่มีภูมิลําเนาอยู่ในพื้นตําบลท่าชะมวง อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จํานวน 389 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็น
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ตอนที่ 1 ถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ศาสนา การเป็น
สมาชิกชมรมหรือกลุ่มพัฒนาในพื้นที่ การเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดยองค์การบริหารส่วนตําบล ซึ่งเป็น
แบบสอบถามที่ให้ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถเลือกตอบได้ตามรายการ (Check-list) จํานวน 8 ข้อ
ตอนที่ 2 ถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบล
ท่าชะมวง อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นแบบสอบถามที่ให้แสดงความ
คิดเห็นตามระดับความคิดเห็น เป็นแบบมาตรตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) โดยมีรายละเอียด
ของคําถามทั้งสิ้น 18 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ โดยใช้ค่าสถิติ ดังนี้ 1. ค่าความถี่ (Frequency) ใช้
สําหรับวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนที่ 1 ของแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ศาสนา
การเป็นสมาชิกชมรมหรือกลุ่มพัฒนาในพื้นที่ การเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดยองค์การบริหารส่วนตําบล ของ
ประชาชนที่มีภูมิลําเนาอยู่ในพื้นตําบลท่าชะมวง อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา 2. ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ใช้
สําหรับวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนที่ 2 ของแบบสอบถาม คือ ระดับความคิดเห็นของประชาชนมีต่อการดําเนินงาน
ขององค์การบริหารส่วนตําบลท่าชะมวง อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล 3. ค่าส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เพื่อใช้อธิบายตอนที่ 2 ความคิดเห็นที่มีต่อการดําเนินงานของ
องค์การบริหารส่วนตําบลท่าชะมวง อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล 4. ค่า t–test
ใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่าง 2 กลุ่ม โดยจะนํามาใช้ทดสอบปัจจัยส่วนบุคคล ตัว
แปรเพศ และการเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดยองค์การบริหารส่วนตําบลท่าชะมวง โดยใช้สูตร Independent
sample t-test ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติร้อยละ 95 และ 5. ค่า F-test ใช้วิเคราะห์ความแปรปรวนทาง
เดียว (One-way ANOVA Analysis of Variance) เพื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคลที่
มากกว่า 2 กลุ่ม ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ศาสนา การเป็นสมาชิกชมรมหรือกลุ่มพัฒนาใน
พื้นที่ เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นของประชาชนที่มีภูมิลําเนาอยู่ในพื้นตําบล
ท่าชะมวง อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา มีผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
18 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย