Page 31 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 31
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
3. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการดําเนินงาน
ขององค์การบริหารส่วนตําบลท่าชะมวง อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล และ
ผลการทดสอบสมมติฐาน
จําแนกตามเพศ พบว่า ระดับความคิดเห็นของประชาชนเพศชายมีค่าเฉลี่ยเท่ากับเพศหญิง (x̄ = 3.40)
ภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง และระดับความคิดเห็นของประชาชนเพศชายและเพศหญิง ไม่แตกต่างกัน
(Sig. = 0.974) จึงไม่ยอมรับสมมติฐานการวิจัย จําแนกตามการเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดย องค์การบริหารส่วน
ตําบล พบว่า ประชาชนที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดย องค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 259 คน มี
ค่าเฉลี่ย (x̄ = 3.39) ภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง และประชาชนที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมที่
จัดโดย องค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 130 คน มีค่าเฉลี่ย (x̄ = 3.40) ระดับความคิดเห็นภาพรวมอยู่ใน
ระดับปานกลาง ซึ่งระดับความคิดเห็นของประชาชนที่เคยเข้าร่วมและไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดย องค์การ
บริหารส่วนตําบล มีระดับความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน (Sig. = 0.421) จึงไม่ยอมรับสมมติฐานการวิจัย
จําแนกตามอายุ พบว่า ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อผลการดําเนินงานขององค์การบริหาร
ส่วนตําบลท่าชะมวง อําเภอ รัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตามแนวทางหลักธรรมาภิบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Sig. = 0.014) จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ อายุ
กับระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบลท่าชะมวง อําเภอรัตภูมิ
จังหวัดสงขลา ตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล พบว่า กลุ่มประชาชนที่มีอายุระหว่าง 20 - 30 ปี มีระดับความ
คิดเห็นแตกต่างกันกับกลุ่มประชาชนที่มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี และ 41 – 50 ปี และ 51 ปีขึ้นไป กลุ่ม
ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีระดับความคิดเห็นแตกต่างกันกับกลุ่มประชาชนที่มีอายุระหว่าง 20 -
30 ปี 41-50 ปี และ51 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จําแนกตามระดับการศึกษา พบว่า
ประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อผลการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบล
ท่าชะมวง อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ระดับการศึกษากับระดับความ
คิดเห็นของประชาชนต่อผลการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบลท่าชะมวง อําเภอ รัตภูมิ จังหวัด
สงขลา ตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีระดับ
ความคิดเห็นแตกต่างกันกับประชาชนที่มีระดับการศึกษาระดับ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา/ประกาศนียบัตร
วิชาชีพ (ปวช.) และ ปริญญาตรี/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ทางหลักธรรมาภิบาล แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 (Sig. = 0.018) จึงยอมรับสมมติฐานการ
วิจัย จําแนกตามอาชีพ พบว่า ประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อผลการดําเนินงานของ
องค์การบริหารส่วนตําบลท่าชะมวง อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล ไม่แตกต่างกัน
(Sig. = 0.423) จึงไม่ยอมรับสมมติฐานการวิจัย จําแนกตามศาสนา พบว่า ประชาชนที่มีศาสนาต่างกัน มีระดับ
ความคิดเห็นต่อผลการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบลท่าชะมวง อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตาม
แนวทางหลักธรรมาภิบาล ไม่แตกต่างกัน (Sig. = 0.741) จึงไม่ยอมรับสมมติฐานการวิจัย จําแนกตามรายได้
พบว่า ประชาชนที่มีรายได้ต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อผลการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบล ท่า
ชะมวง อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล ไม่แตกต่างกัน (Sig. = 0.799) จึงไม่ยอมรับ
สมมติฐานการวิจัย จําแนกตามการเป็นสมาชิกชมรมหรือกลุ่มพัฒนาในพื้นที่ พบว่า ประชาชนที่มีการเป็น
สมาชิกชมรมหรือกลุ่มพัฒนาในพื้นที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อผลการดําเนินงานขององค์การบริหาร
ส่วนตําบลท่าชะมวง อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล ไม่แตกต่างกัน (Sig. = 0.854)
จึงไม่ยอมรับสมมติฐานการวิจัย
22 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย