Page 49 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 49

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020

                                   จากการศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้บริการต่อคุณภาพการให้บริการของ

                    อสม. จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลอันได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ  ศาสนา  อาชีพ
                    ภูมิลําเนาเดิม ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการทั้ง 5 ด้าน ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ปัจจัย

                    ส่วนบุคคล อันได้แก่ 1.ระดับการศึกษามีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของ อสม. ด้านรูปลักษณ์ทาง
                    กายภาพที่สัมผัสได้ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้านการสร้างความมั่นใจ และด้านการดูแลเอาใจใส่ไม่

                    แตกต่างกัน ส่วนคุณภาพการให้บริการด้านการตอบสนองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ
                    0.05 โดยที่ระดับการศึกษามัธยมตอนปลาย/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีความคิดเห็นมากกว่า

                    ระดับประถมศึกษาและระดับโรงเรียนศาสนา (ปอเนาะ) ส่วนระดับปริญญาตรีจะมีความคิดเห็นมากกว่าระดับ
                    โรงเรียนศาสนา (ปอเนาะ) และระดับมัธยมตอนต้น/ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จะมีความคิดเห็นมากกว่า
                    โรงเรียนศาสนา (ปอเนาะ) 2.ระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการด้านการ

                    ตอบสนองไม่แตกต่างกัน ส่วนความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพที่สัมผัสได้ ด้าน
                    ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้านการสร้างความมั่นใจ ด้านการดูแลเอาใจใส่ มีความแตกต่างกันอย่างมี

                    นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพที่สัมผัส
                    ได้ ระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ 10,001-15,000 บาท มีความคิดเห็นมากกว่าระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

                    5,001-10,000 บาท, 15,001-20,000 บาทและ 20,001-25,000 บาท ความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการ
                    ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ 10,001-15,000 บาท มีความคิดเห็นมากกว่า

                    ระดับรายได้ 5,001-10,000 บาท และ 15,001-20,000 บาท และความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการด้าน
                    การสร้างความมั่นใจ ระดับรายได้เฉลี่ย 10,001-15,001 บาท มีความคิดเห็นมากกว่าระดับรายได้เฉลี่ย 5,001-
                    10,000 บาท และ 15,001-20,000 บาท และ 3.ความรอบรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขพื้นฐาน จําแนกตามการอบรม

                    มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของ อสม. ทั้ง 5 ด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
                    โดยผู้ที่เคยรับการอบรมจะมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพที่สัมผัสได้ ด้าน

                    ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้านการตอบสนอง ด้านการสร้างความมั่นใจ ด้านการดูแลเอาใจใส่มากกว่าผู้ที่ไม่
                    เคยเข้ารับการอบรม

                                          การทดสอบสมมุติฐานปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการ
                    ที่แตกต่างกัน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล อันได้แก่ ระดับการศึกษา ระดับรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน และความรอบ

                    รู้เกี่ยวกับสาธารณสุขพื้นฐาน มีผลต่อความคิดเห็นด้านคุณภาพการให้บริการในภาพรวมของ อสม. แตกต่างกัน
                    อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาตามรายละเอียดพบว่า ระดับการศึกษา มีผลต่อความ
                    คิดเห็นด้านคุณภาพการให้บริการด้านการตอบสนองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

                    ระดับรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน มีผลต่อความคิดเห็นคุณภาพการให้บริการด้านรูปลักษณ์กายภาพที่สัมผัสได้
                    ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้านการสร้างความมั่นใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

                    ส่วนความรอบรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขพื้นฐานหรือผู้ที่เคยได้รับการอบรมมีผลต่อความคิดเห็นด้านคุณภาพการ
                    ให้บริการทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ด้านรูปลักษณ์กายภาพที่สัมผัสได้ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้านการ

                    ตอบสนอง ด้านการสร้างความมั่นใจ และด้านการดูแลเอาใจใส่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

                                                        40                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54