Page 67 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 67

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020

                    อย่างเช่น เรื่องยุทธศาสตร์ที่พูดถึงยังมีค่อนข้างน้อยในสังคมไทย หัวข้อที่เป็นประเด็นการวิจัยเรื่องยุทธศาสตร์

                    ว่าสังคมไทยมีการกําหนดยุทธศาสตร์กันอย่างไร นํายุทธศาสตร์ไปปฏิบัติแล้วเกิดอะไรขึ้นมา การปรับเปลี่ยน
                    ยุทธศาสตร์เป็นอย่างไร จําเป็นหรือไม่ที่ต้องมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นต้น อันนี้ก็จะเป็น Areas วิจัยใหม่ๆ

                    ต่อไปถ้าเราทํามากขึ้นๆ ก็ อาจจะมีบางส่วนต่อไปก็ทํามากขึ้นก็จะกลายเป็น New Normal ขึ้นมา หรือว่า
                    Areas อย่างองค์กรในองค์กรก็มีการพัฒนามากมาย เราก็จะเจอรูปแบบภาวะผู้นําในองค์กรที่มีความ

                    หลากหลาย สมัยก่อนเรารู้จักภาวะผู้นําเพียงเล็กน้อย เช่น ผู้นําแบบสั่งการ, ผู้นําแบบประชาธิปไตย, ผู้นําแบบ
                    มุ่งงาน, ผู้นําแบบมุ่งคน แต่ปัจจุบันเรามีภาวะผู้นําที่หลายสถานะ มีทั้งผู้นําการเปลี่ยนแปลง ผู้นําวิสัยทัศน์

                    ผู้นําจริยธรรมอะไรต่างๆ เยอะแยะมากมาย ออกมาใน Areas ใหม่ๆ อันนี้ก็จะกลายมาเป็น New Normal ที่
                    เปิดทางให้พวกเราได้ศึกษา ได้ทําวิจัยกันต่อ ซึ่งอันนี้จะสอดคล้องกับการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ของสาขา
                    อะไรต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นมา หรือในแง่ขององค์การในต่างประเทศใน Journal ต่างประเทศ เขาจะมีความคิดที่

                    เรียกว่า “ความคิดในเชิงสถาบันนิยมใหม่” ขึ้นมา เพื่อศึกษาองค์กรในลักษณะสถาบันนิยมใหม่ขึ้นมา แล้วต่อ
                    ในปัจจุบันจะมีแนวคิดอีกอันหนึ่งที่เรียกว่า “เป็นตรรกะเชิงสถาบัน” ซึ่งอันนี้ในต่างประเทศทําจนเป็น New

                    Normal แล้ว แต่ในสังคมไทยก็เห็นงานวิจัยในลักษณะนี้ ซึ่งมีค่อนข้างน้อยก็เลยพยายามส่งเสริมในนักศึกษา
                    ปริญญาเอกทํา โดยเอาแนวคิดใหม่ๆ ในการเอาองค์กรใหม่ๆ ออกมา แล้วต่อไปมันก็อาจจะขยาย Areas การ

                    วิจัย หรือว่าการเรียนรู้ของสังคมไทยมากขึ้น นี่ก็ทําให้มองภาพวิชาชีพที่เป็นสากล เพราะในสังคมไทย
                    เปรียบเทียบแล้วเราก็อาจจะตามหลังเขาอยู่สักระยะหนึ่ง หรือบางที่พวกเราก็อาจจะเรียนนโยบายจากอาจารย์

                    ฯ ที่มาสอนก็อาจจะฟังอาจารย์รุ่นก่อนๆ มาสอน เวลาสอนนโยบายก็มีตัวแผนอยู่ไม่กี่แผน ตัวแบบชนชั้นนํา
                    บ้าง ตัวแบบพหุนิยมบ้าง หรือการนํานโยบายไปปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน


                           แต่ถ้าในวิชาการระดับสากล ก็มีคิดตัวแบบใหม่ๆ คิดทฤษฎีใหม่ๆ เกี่ยวกับกระบวนการนโยบายแล้ว
                    ในระยะหลังเวลาวิเคราะห์นโยบายก็ไม่ได้แยก แต่จะมองนโยบายไปทั้งกระบวนการ โดยสร้างตัวแบบขึ้นมา

                    หลากหลายตัวแบบใหม่ๆ ซึ่งตัวนี้ต่อไปในสังคมไทยก็อาจจะมีการนําส่งเหล่านี้มาสอน มาให้นักศึกษาทําความ
                    เข้าใจเพิ่มเติม แล้วก็ท้ายที่สุด สักระยะหนึ่งก็จะกลายเป็น New Normal ขึ้นมาว่าเวลาเรียนนโยบายก็ต้องมี

                    ตัวแบบพวกนี้แทนที่จะเป็นการสอนตัวแบบเดิมๆ ที่อาจารย์นิด้าเอามาสอนเมื่อประมาณ 50 ปี มาแล้ว แต่
                    ปัจจุบันเราก็ยังสอนกันอยู่ เป็นต้น


                           มี 4 ประเด็นหลักๆ ที่จะบรรยาย ได้แก่ 1. อะไรคือความปกติใหม่ 2. แล้วก็สังคมไทยเข้าใจความ
                    ปกติใหม่อย่างไร 3. แล้วความปกติใหม่นี้เกิดขึ้นอย่างไร ซึ่งเมื่อกี้เราฟัง ดร.สมเกียรติฯ ไปแล้ว 4. จะมาทํา
                    ความเข้าใจในแง่กรอบแนวคิด (Concept) ว่าความปกติใหม่คืออะไร แล้วจากนั้นก็จะเข้ามาสู่ Areas

                    ของรัฐประศาสนศาสตร์ ในแง่การกําหนดนโยบาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ การประเมินผลนโยบาย แล้วก็
                    องค์การภายใต้ความปกติเดิม    เราก็จะดูความเป็นจริงในปัจจุบันว่า เวลาเราพิจารณาว่ารัฐประศาสนศาสตร์

                    ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับนโยบาย และองค์การเป็นหลักว่า ความเป็นปกติเดิมมีลักษณะเป็นอย่างไร แล้วจากนั้น
                    จะชี้ให้เห็นว่า ความปกติเดิมของรัฐประศาสนศาสตร์ที่ใช้มีความล้มเหลวอะไรเกิดขึ้น แล้วเมื่อมีความล้มเหลว

                    เกิดขึ้นเราก็ต้องมีการปรับรัฐประศาสนศาสตร์ในบางเรื่อง บางประเด็นเพื่อนําไปสู่ความปกติใหม่ขึ้นมา

                                                        58                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72