Page 82 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 82
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
หากเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่อยู่อันดับ 1 ของ ARWU กับมหาวิทยลัยมหิดล
ที่เป็นอันดับ 1 ของไทยและรวยที่สุดก็มีความแตกต่างอย่างลิบลับ ฮาร์วาร์ดมีงบประมาณประจําปีมากกว่า
มหิดล 30 เท่า โดยมีนักศึกษาจํานวนพอ ๆ กัน ฮาร์วาร์ดมีกองทุนสนับสนุนสถาบันราว 3 หมื่นล้านดอลล่าร์
12
(ราว 990,000 ล้านบาท) มหาวิทยาลัยมหิดลไม่มี (แม้ว่าจะมีรายได้จากโรงพยาบาล)
ถ้ายอมรับว่าการซื้อตัวผู้ได้รับรางวัลโนเบล หรือ อาจารย์ที่มีผลงานตีพิมพ์แพร่หลาย เร็ว
กว่าการสร้างคนนั้น ก็ไม่ใช่เหตุบังเอิญที่มหาวิทยาลัยอันดับท็อปเป็นมหาวิทยาลัยที่ร่ํารวยที่สุด ถ้าดูรายชื่อ
มหาวิทยาลัยท็อป 20 ตามระบบ ARWU จะพบว่า 16 ใน 20 มหาวิทยาลัย รวยที่สุดในโลก จึงเป็นไปได้ว่า
มหาวิทยาลัยที่รวย ย่อมมีโอกาสติดอันดับสูง
ทั้งนี้ไม่ได้พูดว่าฮาร์วาร์ดติดอันดับเพราะรวย แต่เงินก็ช่วยได้ มีบางมหาวิทยาลัยติดอันดับ
แต่ไม่รวย อย่างไรก็ดี ระบบจัดอันดับจะเข้าทางของมหาวิทยาลัยคนละประเภท กับมหาวิทยาลัยไทยส่วน
ใหญ่ นั่นคือ สถาบันเล็กที่เน้นการวิจัย
2) นี่แสดงให้เห็นว่าสมมุติฐานในการจัดอันดับ คือ งานวิจัยสําคัญกว่าการสอน คนส่วนใหญ่
จะเห็นด้วยว่า มหาวิทยาลัย คือ แหล่งแห่งนวัตกรรม ทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับสังคม
13
มหาวิทยาลัยมีหน้าที่หลัก คือ ด้านการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและการศึกษา
ระดับบัณฑิตศึกษา (โท – เอก) เพื่อให้บัณฑิตที่จบสามารถพัฒนาต่อยอดทางอาชีพ แต่การจัดอันดับไม่ได้ให้
ความสําคัญสูงต่อคุณภาพการเรียนการสอน และไม่มีทางที่จะสําคัญกว่างานวิจัย
ถ้าเทียบกับฮาร์วาร์ด ซึ่งมีนักศึกษาปริญญาตรีเพียง 6,000 คน มหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่
จะมีจํานวนเกินสองเท่าเป็นอย่างน้อย มหาวิทยาลัยไทยมีพันธกิจในการให้การศึกษาแก่เยาวชนไทย แต่
มหาวิทยาลัยอันดับท็อปไม่มี .... เขาให้การศึกษากับกลุ่มยอดเยี่ยมกลุ่มเล็ก ๆ
การเรียนการสอนระดับปริญญาตรีต้องใช้ทรัพยากรการสอนมาก ส่วนใหญ่ไม่เข้าเกณฑ์ใน
การจัดอันดับ และเป็นไปไม่ได้ที่ผู้รับรางวัลโนเบลจะใช้เวลามากมายในการสอนนักศึกษาปริญญาตรี (และคน
ส่วนใหญ่ก็ยังสงสัยในความเป็นครูที่ดีของเขา)
ภาระการสอนจําเป็นต้องใช้ทรัพยากร เช่น เวลาของอาจารย์และงบประมาณ ซึ่งมีจํากัด
ทําให้ไม่สามารถทํากิจกรรมที่ช่วยหนุนอันดับ เช่น การวิจัย เป็นต้น
3) แม้ว่ามหาวิทยาลัยมีหน้าที่หลัก คือ การเรียนการสอนระดับปริญญาตรี แต่ก็ไม่ใช่ข้อแก้
ตัวเรื่องอันดับต่ํา ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง นั่นคือ การวัดงานวิจัยจากการตีพิมพ์เผยแพร่และการถูกอ้างอิง
ประเทศไทยมีอุปสรรคสําคัญ คือ ขาดนักวิจัยที่ตีพิมพ์ผลงานเป็นภาษาอังกฤษ การ
ตีพิมพ์ผลงานเป็นภาษาอังกฤษจะได้เปรียบในการจัดอันดับ ส่วนการตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน และจีน
มีโอกาสได้อันดับดีกว่าภาษาไทย
12 สามารถนําไปลงทุนแสวงหารายได้เพื่อสนับสนุนงานของมหาวิทยาลัย
13 ความหมายทางวิทยาศาสตร์ (ไม่ใช่ภาษาทางธุรกิจ) หมายถึง การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆในทุกสาขาวิชา
73 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย