Page 77 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 77

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020


                                ยุทธศาสตร์คู่ขนานระหว่างแผนที่เขียนอย่างหนึ่งและสิ่งที่ทําจริงอีกอย่างหนึ่ง ตอนนี้
                    ยุทธศาสตร์เป็น New Normal เมื่อก่อนตั้งแต่ปี 2546 – 2547 เป็นต้นมา คือหลังจากที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย
                    ขึ้นมาก็นําเอาวิธีคิดแบบยุทธศาสตร์ให้หน่วยงานเขียนยุทธศาสตร์ โดยวิธีการเขียนยุทธศาสตร์เป็น Normal

                    ของภาคเอกชน โดยเอาวิธีคิดแบบยุทธศาสตร์มาใช้ในหน่วยงานภาครัฐ คือการตั้ง กพร. ขึ้นมาเป็น New
                    Normal ปัจจุบันทุกหน่วยงานมียุทธศาสตร์ แต่สิ่งที่เราเห็นคือหน่วยงานฉลาดแกมโกง คือ ยุทธศาสตร์กับสิ่งที่
                    เขาปฏิบัติไม่ค่อยเหมือนกัน คือยุทธศาสตร์ก็เขียนไว้แต่ปฏิบัติจริงก็ทําอีกแบบหนึ่ง เรียกว่าเป็น “ยุทธศาสตร์
                    คู่ขนาน”เหมือนแวดวงการศึกษาของเรา ก็มีการกําหนดมาตรฐานการศึกษาต่างๆ มากมาย เราก็ทําตามที่เขา

                    บอกและทําได้ด้วย ทําตาม KPI แต่ว่าในการปฏิบัติเป็นอีกแบบหนึ่งและองค์กรใช้เป็นประจํา ทางวิชาการ
                    เรียกว่า “Republic ทําคู่ขนาน” ไป ทําเพื่อตอบสนองความเป็นทางการกับทําตามที่องค์กรคิดว่ามี
                    ประสิทธิภาพจริง ก็จะทําคนละแบบกัน

                                ภาวะผู้นํา  แบบปล่อยปละละเลย มุ่งอํานาจ มุ่งภาพลักษณ์ มุ่งประโยชน์ หน่วยงานราชการ
                    ที่เราเห็นเป็นปกติหลายหน่วยงาน ส่วนราชการ มีลักษณะแบบนี้ อาจมีข้อยกเว้น ตัวอย่างเช่น ผู้ว่าราชการ
                    จังหวัดเชียงราย (นายณรงค์ศักดิ์) ท่านเป็นผู้ว่าราชการแบบ New Normal โดยแท้จริง แต่ผู้ว่าราชการเดิม
                    เป็นแบบ OLD NORMAL อยู่ เราก็จะเห็นว่าใครรับตําแหน่งใกล้ๆ เกษียณ 1 – 2 ปี ก่อนเกษียณ เขาก็ไม่ค่อย

                    ทําอะไรแล้วก็ปล่อยไปเฉยๆ ส่วนผู้ว่าราชการที่ยังอายุน้อย อายุ 40 ปีปลายๆ หรือ 50 ต้นๆ ก็พยายามไขว่คว้า
                    หาอํานาจต่อไป จนกระทั่งได้เป็นปลัดกระทรวง แล้วก็มาเป็นผู้บริหาร ต้องการสร้างภาพลักษณ์เป็นหลัก แต่
                    บางองค์กรก็แย่หน่อยมุ่งประโยชน์ วัฒนธรรมวิถีเดิมขององค์กร คือช่วยพวกเดียวกัน ใช้ระเบียบหลาย

                    มาตรฐาน ซุกปัญหาไว้ใต้พรม มีการเรียนรู้องค์กรต่ํา บางองค์กรเสร็จสิ้นภารกิจแล้วก็ไม่มีการสรุปบทเรียน
                    หรือถอดเป็นสรุปบทเรียนนํามาเป็นการจัดการความรู้ก็ทําพอเป็นพิธีกรรม อย่างเช่น การจัดการความรู้ใน
                    องค์กร จุดนี้ก็เป็นวิถีปฏิบัติใหม่อีกอันหนึ่ง ถ้าพวกเราไปในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ก็จะมีเรื่องการจัดการ
                    ความรู้ ฉะนั้น วิชาการจัดการความรู้ก็จะถูกบรรจุเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสาขารัฐประศาสนศาสตร์ เป็นการ

                    จัดการองค์กรในการเรียนรู้ในปัจจุบัน ก็จะได้รับการบรรจุเข้าไปเพราะเป็นวิถีใหม่ที่เกิดขึ้นในองค์กร แล้วต่อๆ
                    ไปก็อาจจะทําจริงจังในอนาคตได้ แต่ว่าตอนนี้ก็ยังเป็นเพียงพิธีกรรม
                                การกดทับบทบาทขององค์กรท้องถิ่น ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่ส่วนกลางจะดึงอํานาจรวมศูนย์

                    อํานาจมากขึ้น แต่กรณีเกิด Covid ก็อาจจะเห็นพลังของท้องถิ่นในการแก้ปัญหาของท้องถิ่นมากขึ้น ก็อาจจะ
                    ทําให้วิธีคิดของเขาเปลี่ยนไปได้

                    ภาพสะท้อนความล้มเหลวของรัฐประศาสนศาสตร์ วิถีเก่าในสังคมไทย


                                การกระทําผิดไม่ถูกนําเข้าสู่การกระจายความยุติธรรม นี่เป็นความล้มเหลวทางรัฐประศาสน
                                 ศาสตร์แบบเดิม ที่เป็นข่าวในขณะนี้ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานยุติธรรม

                                ความยากจน ความเหลื่อมล้ําทางสังคม หรือว่าโครงการพัฒนาที่ไปช่วยชาวบ้านแก้ปัญหา
                                 ความยากจนล้มเหลวไม่เป็นท่า
                                การแพร่กระจายของมลพิษ การจัดการป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษ ป้องกันไม่ให้ชาวบ้านไปเผา

                                 ป่า ล้มเหลวเกิดขึ้นทุกปี แล้วตอนนี้ถ้าใครมาภาคเหนือในช่วงเดือนที่มีอากาศหนาวๆ ปลายปี
                                 หรือต้นปี เป็น New Normal มาหลายปีแล้ว

                                                        68                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82