Page 78 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 78

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020


                                การศึกษาที่ด้อยคุณภาพ
                                การทุจริตคอร์รัปชั่น

                                เกิดอุบัติเหตุทางบกในอัตราที่สูง นี่เป็นความล้มเหลวของรัฐประศาสนศาสตร์แบบเดิมว่าสอน
                                 เด็กในการขับรถอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ แสดงให้เห็นถึงการบังคับใช้กฎหมายที่
                                 ล้มเหลว

                                การเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมและความรุนแรง
                                การบุกรุกที่ดินและทรัพยากรของรัฐ

                                 มีอีกอันหนึ่งที่เราเห็นตําตาถ้าเราอยู่ในชุมชนคือ การทิ้งร้างของสิ่งก่อสร้าง อย่างเช่น ตลาด
                    ประชารัฐไม่รู้ตอนนี้ยังเป็นตลาดอยู่หรือไม่ ตอนนี้ไม่เห็นแล้ว หรือโครงการจํานวนมากๆ เป็นซากปรักหักพังที่
                    สะท้อนความล้มเหลวของรัฐประศาสนศาสตร์แบบเดิม ที่ดําเนินการโดยการกําหนดนโยบาย และการนํา
                    นโยบายไปปฏิบัติและการบริหารงานองค์กรที่ผิดพลาด แล้วก็ไปได้ว่าโครงสร้างของคณะกรรมการฯ เหล่านี้

                    เป็นโครงสร้างที่นักวิชาการบางท่านหนึ่ง เมื่อก่อนเป็นโครงสร้างที่รัฐมอบประชาธิปไตยให้แก่กลุ่มทุนมากขึ้น
                    แต่มอบประชาธิปไตยให้ประชาชนน้อยเกินไป โครงการพัฒนาต่างๆ นั้นในหลายๆ ประเทศ ระดับเมือง ระดับ
                    เทศบาล  เคยมีการทําวิจัยเมื่อ 30 – 40 ปีที่แล้ว ในยุโรปพบว่า ตอนนั้นเมืองมีปัญหามากเกิดอุบัติเหตุต่างๆ มี

                    ปัญหามลพิษ แล้วทําวิจัยก็ไปพบว่าสิ่งที่สร้างปัญหาคือ “คณะกรรมการนโยบายพัฒนาเมือง” เพราะ
                    ประกอบด้วยกลุ่มคน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มข้าราชการที่เป็นนักเทคนิคกับกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มนักธุรกิจ
                    แต่ไม่มีภาคประชาชนที่เป็นตัวแทนพลเมืองอยู่ในคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเมืองเลย ดังนั้นเขาเสนอให้
                    เปลี่ยนโครงสร้างของ คณะกรรมการฯ ก็เลยทําให้เกิดการเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาเมืองขึ้นมา

                                ระดับกระทรวงใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัยในการกําหนดนโยบายและการนํา
                    นโยบายไปปฏิบัติ

                    การประเมินผลการปฏิบัติที่ควรจะเป็น


                                ยึดวัตถุประสงค์ หลักวิชาและผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน อันนี้พูดง่ายแต่ทํายาก

                    มากเพราะไม่ยึดวัตถุประสงค์เท่าไหร่ เพราะวัตถุประสงค์เป็นผลลัพธ์ พอเป็นผลลัพธ์ก็วัดยากก็จะไปวัดเอาที่
                    ผลผลิตก็ทําไป ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมฯ มีคนเข้าร่วมกี่คนก็ทําไป แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้ได้
                    ประสิทธิผลจริงๆ ก็ยึดวัตถุประสงค์เป็นผลลัพธ์ภายใต้ผลผลิต แล้วก็ต้องคิดหาโครงการใหม่ๆ ทําบ้าง คือการ

                    หาโครงการใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาใหม่ๆ ได้คือต้องวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาแล้วก็กําหนดแนวทางการ
                    แก้ปัญหาให้สอดคล้องกับสาเหตุ ไม่ใช่หยิบแต่โครงการเดิมๆ ขึ้นมา ฉะนั้นต้องใช้แนวทางใหม่ๆ ในทาง
                    สร้างสรรค์
                                หลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ก็ต้องมีการตรวจสอบจากภาคประชาชน ก็อาจจะต้องมี

                    คณะกรรมการประเมินผลภาคประชาชนขึ้นมา เพื่อติดตามการทํางานของหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ว่ามี
                    ธรรมาภิบาลหรือไม่







                                                        69                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83