Page 81 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 81

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020

                                                         อ่านมาเล่า

                                     “Rankings not be – all , end – all for Thai unis”  9





                                                                                                       10
                                                                                         จรัญ  จันทลักขณา
                                 หัวข้อเรื่อง อาจแปลว่า “Rankings ไม่ใช่ความเป็นความตายของมหาวิทยาลัยไทย” (Rankings

                    หมายถึง การจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก ... จรัญ)

                                 การที่มหาวิทยาลัยไทยติดอันดับต่ํา ๆ ในอันดับโลกย่อมก่อให้เกิดความผิดหวัง

                    แต่เมื่อพิจารณาดูวิธีการจัดอันดับก็คงไม่น่าแปลกใจ


                                 การจัดอันดับดําเนินการโดยสองสํานักคือ (1) The Time Higher Education World
                    University Ranking (THE) และ (2) The Academic Ranking of World Universities (ARWU) มีสํานักงาน

                    อยู่ในเซี่ยงไฮ้ โดยมหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่ติดอันดับ 600 -  1,000
                                 เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เกิดความวิตกอย่างยิ่งว่ามหาวิทยาลัยไทย จะตกอันดับไปอยู่ในกลุ่ม 601 –
                    800

                                 ผู้คนพากันวิจารณ์มหาวิทยาลัยว่า การสอนไม่มีคุณภาพ และการวิจัยอ่อนแอ ปัจจัยเหล่านี้
                    อาจมีผลต่อการจัดอันดับ แต่ต้องคํานึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ด้วย ซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับปัญหาของมหาวิทยาลัย แต่ส่งผล

                    ต่อการได้อันดับต่ํา
                                 1)  ประการแรก เราต้องเข้าใจว่า การติดอันดับก็เหมือนในฟุตบอลลีก คือ การที่เมืองเชลซี
                                                                                                11
                    หรือ แมนเชสเตอร์ มีทีมฟุตบอลชั้นเยี่ยมมิได้หมายความว่าทั้งสองเมืองผลิตนักฟุตบอลชั้นเยี่ยมเอง   แต่เขามี
                    เงินซื้อตัวนักฟุตบอลดี ๆ จากประเทศอื่นมาร่วมทีม และบริหารจัดการและสร้างผลกําไรให้เขาได้

                                  ประเทศสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาก็ทํานองเดียวกันการที่เขามีมหาวิทยาลัย
                    อันดับท็อปของโลกมิได้หมายความว่าเขาผลิตนักศึกษาและอาจารย์เก่งที่สุด หรือว่ามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
                    หรือ สแตนฟอร์ดมีระบบการศึกษาอันสุดยอดสามารถผลิตผู้ชนะรางวัลโนเบลได้ แต่ความจริง คือ เขามี

                    กองทุนสนับสนุนงานสถาบัน  (endowments) เป็นพัน ๆล้านดอลล่าห์ (นอกเหนือจากงบประมาณประจําปี)
                    ซึ่งช่วยให้เขาสามารถซื้อตัวนักวิจัยที่ดีที่สุด และสามารถเก็บค่าเล่าเรียนสูงลิ่ว จากนักศึกษาที่ดีที่สุด




                    9  ลงพิมพ์ใน น.ส.พ. รายวัน Bangkok Post  (3 ตุลาคม 2018) โดย Dr. Mike  Hayes อาจารย์สถาบันสิทธิมนุษยชนและ
                    สันติศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
                    10  จรัญ  จันทลักขณา, ศาสตราจารย์ ดร., กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                    11  ท่านที่ไม่คุ้นเคยกับ EPL (English Premier League) อาจนึกถึงทีมฟุตบอลบุรีรัมย์ก็ได้ว่าเขาเป็นอันดับหนึ่งของไทยได้
                    อย่างไร

                                                        72                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86