Page 37 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 37
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
ภาพที่ 5 การจัดที่ดินทํากินตามนโยบายรัฐบาลในเขตปฏิรูปที่ดิน จําแนกตามจังหวัด
ที่มา : สํานักจัดการปฏิรูปที่ดิน (2562)
นอกจากนี้ยังมีอีก 5 จังหวัดที่อยู่ระหว่างการดําเนินการจัดที่ดินได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย
กําแพงเพชร กระบี่ และสงขลา (สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม, 2563)
นอกจากการจัดที่ดินให้สถาบันเกษตรกรแล้ว ส.ป.ก.ยังได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็น
ได้แก่ การปรับพื้นที่ การปูผังแบ่งแปลง การทําถนนสายหลัก ถนนสายซอย แหล่งน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภค
นอกจากนี้ ส.ป.ก.ยังได้มีการตกลงทําความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้
เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินให้ดียิ่งขึ้น เช่น ไฟฟ้า บ้านพักที่อยู่อาศัย รวมทั้งการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพต่างๆ
ภายใต้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วนทั้งการบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และหน่วยงานภายนอก อย่างไรก็ตามหลายท่านยังให้ความเห็นว่ายังไม่มีความพร้อมเท่าที่ควร สมพร ทองทั่ว
(2560) กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบภายในองค์กร คือ ด้านบุคลากรไม่เพียงพอและไม่มีความรู้เท่าที่ควร ด้าน
งบประมาณไม่เพียงพอ ด้านวัสดุอุปกรณ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ ด้านการบริหารคุณธรรม
ผู้ปฏิบัติงานโครงการไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีความดีความชอบเท่าที่ควร การประเมินผลไม่มีรูปแบบ
การติดตามงานที่ชัดเจน ปัจจัยที่มีผลกระทบภายนอกองค์กร คือนโยบาย ปัญหาด้านความต่อเนื่อง ด้าน
กฎหมาย/หลักเกณฑ์/ขั้นตอน บุคลากรภายนอกไม่เข้าใจกฎหมายข้อกฎหมายและขั้นตอนการปฏิบัติงานของ
ปฏิรูปที่ดินทําให้งานมีความล่าช้า ด้านเศรษฐกิจกระทบต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น และความยั่งยืนในการพัฒนา
ด้านสังคม ข้อครหาว่าเอื้อประโยชน์ต่อนายทุนและสังคมเข้าใจคลาดเคลื่อนจากการเสนอข่าวของสื่อมวลชน
และด้านสิ่งแวดล้อมมลภาวะทางน้ําและทางอากาศ และปัญหาการใช้น้ําร่วมกับชุมชน สอดคล้องกับปราโมทย์
ยอดแก้ว (2560) รายงานว่าด้านบุคลากร ต้องมีการเตรียมบุคลากร โดยเฉพาะกระบวนการคัดเลือกเกษตรกร
จะต้องมีความจริงใจและประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมจริง ด้านที่ดินหรือการพัฒนาพื้นที่ต้องมีความ
พร้อมโดยเฉพาะสาธารณูปโภคที่จําเป็นในการเข้าอยู่อาศัย ด้านการบริหารจัดการและงบประมาณ ควรมีการ
30 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย