Page 35 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 35

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                    เอกชนต้องเกิดความล่าช้าลง อย่างไรก็ตามการจัดซื้อที่ดินเอกชนของ ส.ป.ก. ก็ไม่ได้รับความสนใจจากผู้

                    ครอบครองที่ดินรายใหญ่มากนักเนื่องจากกฎหมายกําหนดให้การจ่ายค่าที่ดินบางส่วนที่เป็นพันธบัตร ทําให้
                    ปัจจุบันที่ดินเอกชนที่ ส.ป.ก.จัดซื้อได้มีประมาณ 4.84 แสนไร่ จัดเกษตรกรให้เช่า/เช่าซื้อแล้วประมาณ
                    30,097 ราย (ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ, 2562) ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติให้กรมป่าไม้ยกพื้นที่ป่าไม้ดําเนินการ
                    ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โซนอี ที่เสื่อมสภาพ ให้ ส.ป.ก. ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ธันวาคม 2536 จํานวน
                    947 ป่า เนื้อที่ 36.17 ล้านไร่ (สํานักกฎหมาย, มปป) นั้นเป็นสาเหตุหลักให้ ส.ป.ก.ได้เปลี่ยนบทบาทไป จาก
                    การจัดที่ดินให้เกษตรกรเช่า หรือเช่าซื้อในที่ดินเอกชนตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่กลับต้องมาออกหนังสือ
                    อนุญาตให้เกษตรกรเข้าทําประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.4-01) ในที่ดินของรัฐแทน จึง

                    เห็นได้ว่าปริมาณงานของ ส.ป.ก.ส่วนใหญ่เป็นที่ดินของรัฐ จากภาพรวมผลการดําเนินงานทั้งประเทศทั้งที่ดิน
                    รัฐและเอกชนประมาณ 40 ล้านไร่ ในจํานวนนี้มีที่ดินเอกชนแค่ 4 แสนไร่ หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 1 ของพื้นที่
                    ดําเนินการทั้งหมด ที่เหลือเป็นที่ดินของรัฐทั้งหมด ในพื้นที่ประมาณ 40 ล้านไร่ ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน
                    2562 พบว่า ส.ป.ก.ได้จัดที่ดินทํากินให้เกษตรกรแล้วจํานวน 2.90 ล้านราย 3.71 ล้านแปลง เนื้อที่ 36.20 ล้าน
                    ไร่ (ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ, 2562) ส.ป.ก.ได้ดําเนินงานดังกล่าวมา 46 ปี ปัญหาที่พบในปัจจุบันหลักๆ คือ
                    เกษตรกรที่ได้รับสิทธิแล้วมีการเปลี่ยนมือซื้อขายกันอย่างผิดกฎหมาย ทําให้เกิดผลกระทบในวงกว้างและถูกตั้ง
                    คําถามจากสังคมเสมอมาถึงแนวทางการดําเนินการในเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ส.ป.ก. ได้ดําเนินการ
                    ตรวจสอบการถือครองที่ดินของเกษตรกรอยู่ตลอดเวลาและถือเป็นภารกิจหลักของหน่วยงานเช่นกัน  จาก
                    รายงานของสํานักจัดการปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก. ที่ตรวจสอบการถือครองที่ดินระหว่างปี พ.ศ. 2558 ถึง 2560

                    จํานวน 28.52  ล้านไร่ พบว่าเกษตรกรที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าจะมีการซื้อขายเปลี่ยนมือแล้ว ประมาณร้อยละ
                    2 ของพื้นที่ตรวจสอบทั้งหมด (สํานักจัดการปฏิรูปที่ดิน, 2561) อย่างไรก็ตามตัวเลขที่แท้จริงไม่มีใครทราบชัด
                    เพราะการซื้อขายเปลี่ยนมือกันระหว่างเกษตรกรกับเกษตรกรไม่ได้ผ่านระบบการทําทะเบียน ประเด็นดังกล่าว
                    จึงเป็นปัญหาหลักของ ส.ป.ก.ที่ต้องแก้ไขกฎหมายและหาวิธีการที่สามารถนําไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนต่อไป
                    การดําเนินงานในโครงการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) จีงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยลด
                    ปัญหาการซื้อขายเปลี่ยนมือลงได้ เนื่องจากการจัดที่ดินในรูปแบบสถาบันเกษตรกรหรือสหกรณ์ โดยให้สถาบัน
                    เป็นผู้เช่ากับ ส.ป.ก. เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น

                    กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                              รูปแบบการจัดที่ดินของสํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้สอดคล้องกับนโยบายการ
                    จัดที่ดินทํากินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) มีเพียงประเภทเดียว คือการจัดที่ดินให้สถาบันเกษตรกร
                    ตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ว่าด้วยการจัดที่ดินให้สถาบันเกษตรกร พ.ศ.
                    2558 (กลุ่มวิชาการกฎหมาย, 2562) ในระเบียบนี้ “สถาบันเกษตรกร” หมายความว่า กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์
                    การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกตามระเบียบนี้ “สมาชิก” หมายความว่า
                    สมาชิกของสถาบันเกษตรกร ดังนี้ (1) สมาชิกที่มีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดิน
                    เพื่อเกษตรกรรมซึ่งเสนอรายชื่อผ่านคณะกรรมการตามกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรี และผ่านการพิจารณา

                    ตรวจสอบคุณสมบัติจากคณะ กรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด หรือ (2) สมาชิกอื่นนอกจาก (1) แต่สามารถขอ
                    อนุญาตเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ ขั้นตอนการอนุญาตการ
                    ใช้ประโยชน์ในที่ดินของสถาบันเกษตรกร ผู้ขออนุญาต/ผู้ขอรับการจัดที่ดิน เกษตรกรที่คณะกรรมการปฏิรูป
                    ที่ดินจังหวัด (คปจ.) พิจารณาเห็นสมควรให้ได้รับการจัดที่ดิน (ผู้ที่ คปจ. กําหนด) โดยต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้น
                    ทะเบียนผู้ไร้ที่ดินทํากินและผ่านการคัดกรองจัดลําดับแล้ว ดําเนินการรวมกลุ่มกันโดยจัดตั้งเป็นสถาบันเกษตร
                    กรก่อน หรือในระหว่างการคัดเลือกให้เข้าทําประโยชน์ หรือ จัดตั้งสถาบันเกษตรกรภายหลังตามบัญชีรายชื่อ

                                                        28                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40