Page 39 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 39
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
สรุป (Conclusion)
จากการจัดที่ดินชุมชนตามนโยบายรัฐบาล เป็นกลไลสําคัญในการดําเนินนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้น
แก้ไขปัญหาความยากจนผู้ไร้ที่ดินทํากินเป็นของตนเอง ลดความเหลื่อมล้ําการถือครองที่ดินของประชากรใน
ประเทศ ประเด็นสําคัญคือต้องการแก้ปัญหาการไร้ที่ดินทํากินของเกษตรกร และผู้รุกล้ําเขตป่าสงวน โดยการ
กระจายสิทธิการถือครองให้แก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้รุกล้ํา และออกมาตรการป้องกันการเปลี่ยนมือไปอยู่ใน
ครอบครองของผู้ที่มิใช่เกษตรกร ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมสํารวจ และวิธีการแผนที่ที่ทันสมัย แก้ไขปัญหาเขต
ที่ดินทับซ้อน และแนวเขตพื้นที่ป่าที่ไม่ชัดเจน อันก่อให้เกิดข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ อัน
เนื่องมาจากการบุกรุกในที่ดินของรัฐ (เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, 2535; นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2543; สุริยา ดงคํา, บําเพ็ญ
เขียวหวาน และ เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, 2554) ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านี้ปรากฏในรายงานและผลการศึกษาอีก
จํานวนมากที่มีความประสงค์คือต้องการกระจายสิทธิการถือครองที่ดินใน (สศช.,2554, 2559; ไชยยศ เหมะ
รัชตะ); Albertus and Kaplan, 2012; Weideman, 2004) ประเด็นที่น่าสนใจจากการศึกษา คือสถานการณ์
ปัจจุบันที่มีผู้บุกรุกพื้นที่สงวนหวงห้ามแห่งรัฐ บุกรุกพื้นที่ต้นน้ําลําธาร ที่ป่าไม้ซึ่งต้องรักษาไว้อย่างเด็ดขาด จะ
อพยพคนเหล่านี้ออกจากพื้นที่อย่างไร กับผู้ยากไร้ไม่มีที่ดินทํากินเป็นของตนเองแล้วมาขึ้นทะเบียนขอรับที่ดิน
ทํากินจากรัฐบาล 8 แสนราย จะช่วยเหลือคนเหล่านี้ได้อย่างไรในเมื่อปัจจุบันที่ดินของรัฐก็เหลือน้อยลง
ประเด็นที่ 2 จะหาพื้นที่มาเข้าร่วมโครงการได้อย่างไร ผลการศึกษาได้นําเสนอสําหรับ ส.ป.ก. ไป 3 วิธี คือ
เร่งรัดดําเนินการในพื้นที่ค้างจัดจํานวน 3.6 ล้านไร่ เพราะบางส่วนมีผู้ครอบครองเป็นแปลงใหญ่แต่ไม่ยินยอม
เข้าร่วมกระบวนการปฏิรูปที่ดิน วิธีที่ 2 คือเร่งตรวจสอบที่ดินที่จัดให้เกษตรกรไปแล้ว 36 ล้านไร่ ว่าใครทําผิด
ระเบียบให้รีบนํากลับคืนมา และวิธีที่ 3 คือการเร่งจัดซื้อที่ดินเอกชน อย่างไรก็ตามภารกิจสําคัญที่ไม่ยิ่งหย่อน
ไปกว่าการจัดที่ดินคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั้งเส้นทางคมนาคม และแหล่งน้ําในการทําการเกษตร
และการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืนต่อไป
เอกสารอ้างอิง (References)
กลุ่มวิชาการกฎหมาย. 2562. กฎหมาย พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ระเบียบ คําสั่ง
บันทึกข้อตกลง ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดิน
เพื่อเกษตรกรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. 2535. วิวัฒนาการของการบุกเบิกที่ดินทํากินในเขตป่า. กรุงเทพมหานคร: สถาบัน
ชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
ไชยยศ เหมะรัชตะ. 2530. มาตรการทางกฎหมายในการกระจายสิทธิการถือครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.
กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดารณี ชนะชนม์ และ ศุภมิตร ศรีวัฒนชัย. 2560. “การจัดที่ดินทํากินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่
เขตปฏิรูปที่ดิน.” ใน อารีวรรณ เช่งตระกูล และคณะ. (บรรณาธิการ). 42 ปี ส.ป.ก. สืบสานพระ
ราชปณิธานบนผืนดินของพ่อ. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม, 66-75.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2543. “นิยามความจน”. ใน วิภาพันธ์ ก่อเกียรติขจร และ สุนทรี เกียรติประจักษ์
(บรรณาธิการ). คนจนกับนโยบายการทําให้จนของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการเผยแพร่
และส่งเสริมงานพัฒนา.
32 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย