Page 34 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 34
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
ภาพที่ 3 กลไกการดําเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
ที่มา : สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2562)
สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จัดตั้งขี้นตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อ
เกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2519 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532 โดยนิยามในมาตรา 4
ให้ความหมายของ “การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” ว่า หมายถึง การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครอง
ในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมตลอดถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนําที่ดินของรัฐ หรือ
ที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนจากเจ้าของที่ดิน ซึ่งมิได้ทําประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือมีที่ดินเกินสิทธิตาม
พระราชบัญญัตินี้ เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเอง หรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่
การครองชีพ และสถาบันเกษตรกรได้เช่าซื้อ เช่า หรือเข้าทําประโยชน์ โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนา
อาชีพเกษตรกรรม การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ตลอดจนการผลิต และการจําหน่ายให้เกิดผลดี
ยิ่งขึ้น (สํานักกฎหมาย, 2549) รูปแบบการจัดที่ดินของสํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้สอดคล้อง
กับนโยบายการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) มีเพียงประเภทเดียว คือการจัดที่ดินให้
สถาบันเกษตรกร ตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ว่าด้วยการจัดที่ดินให้สถาบัน
เกษตรกร พ.ศ. 2558 (กลุ่มวิชาการกฎหมาย, 2562) เท่านั้น
สภาพปัญหาปัจจุบันของ ส.ป.ก.
ตามเจตนารมณ์เดิมในการจัดตั้ง ส.ป.ก.ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.
2518 มุ่งหวังให้ ส.ป.ก.ได้ทําหน้าที่จัดซื้อที่ดินจากผู้ถือครองที่ดินขนาดใหญ่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาจัด
ให้เกษตรกรเช่า หรือเช่าชื้อ ซึ่งถือเป็นหลักหนึ่งในการกระจายสิทธิการถือครองที่ดิน จึงเห็นได้ว่าในระยะแรก
ของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ประกาศเขตพื้นที่ปฏิรูปที่ดินครอบคลุมทั้งอําเภอ เพื่อเป็นการสะดวกใน
การจัดซื้อที่ดินเอกชนเพื่อจะได้ไม่ต้องไปประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินอีกภายหลัง ซึ่งจะทําให้การจัดซื้อที่ดิน
27 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย